แนวคิดขยะเหลือศูนย์: การเรียนรู้ของนิสิตปริญญาโทในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางปฐมวัยศึกษา ผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานและสตีมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • อรพรรณ บุตรกตัญญู สาขาปฐมวัยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

แนวคิดขยะเหลือศูนย์, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน, สตีมศึกษา, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

ปัญหาขยะเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบมากที่สุดต่อโลกที่กระทบต่อทั้งคน สัตว์ และพืชที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม  ปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ที่ขาดความรู้ความเข้าใจ  ความรู้ไม่ถึงการณ์หรือพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการขาดความคิดพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดจากความมักง่ายหรือความเห็นแก่ตัว อย่างไรก็ตามเมื่อสาเหตุเกิดขึ้นจากมนุษย์เป็นหลัก การแก้ปัญหาควรแก้โดยตรงที่มนุษย์  โดยนิสิตปริญญาโท สาขาปฐมวัยศึกษาได้มีการออกแบบและปฏิบัติการในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในรายวิชาผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์และสตีมศึกษา รวมทั้งการจัดกิจกรรมทางวิชาการทั้ง 1) โครงการอบรมนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) การจัดนิทรรศการ กิจกรรมและการอบรมหัวข้อสตีมศึกษาเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยในมหกรรมทางการศึกษา EDUCA 2019 พลังชุมชนแห่งการเรียนรู้  3) การจัดกิจกรรมในโครงการตลาดนัดวิชาการของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในหัวข้อ ZERO Waste แนวคิดขยะเหลือศูนย์กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กปฐมวัย นิสิตครู และครูอาจารย์ ทำให้นิสิตปริญญาโท  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้รับข้อความรู้สำคัญกับการพัฒนาและปลูกฝังพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการลดปัญหาขยะที่ได้ผลยั่งยืนด้วยการจัดการศึกษา

References

กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2562) สรุปสถานการณ์มลพิษ ของ

ประเทศไทย ปี 2561 สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2562 จาก http://www.pcd.go.th/file/Thailand%20Pollution%20Report%202018_Thai.pdf

นุศวดี พจนานุกิจ (2562), ไมโครพลาสติก (Microplastics) มหันตภัยขนาดจิ๋ว. สืบค้นเมื่อ 30

พฤศจิกายน 2562 จาก

http://emagazine.ipst.ac.th/220/IPST220/assets/common/downloads/IPST-Mag- 220.pdf

อรพรรณ บุตรกตัญญู (2561), การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. สืบค้นจาก

file:///C:/Users/HPCOM/Downloads/131909-Article%20Text-347819-2-10-20180925%20(3).pdf

Nongluk Phokham (ม.ป.ป), การสอนกระบวนการคิด. สืบค้นจาก

https://stpou.academia.edu/NonglukPhokham

Silander, P. (2015). Phenomenon-based learning. Retrieved from:

http://www.phenomenaleducation.info/phenomenon-based-learning.html.

WHO (2017), One Health Retrieved November 30, 2019, from

https://www.who.int/features/qa/one-health/en/

Yakman, G., & Lee, H. (2012). Exploring the exemplary STEAM education in the US as a

practical educational framework for Korea. Journal of the korean Association for Science Education, 32(6), 1072-1086.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28