การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ที่มีผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, เด็กอนุบาลบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ได้รับการจัดกิจกรรมจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ เด็กอนุบาลชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี จำนวน 23 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ จังหวัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้ เป็นกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว ใช้แผนการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 16 แผน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ทำความเข้าใจปัญหาประเมินความรู้ สืบค้น สรุปความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลองเด็กอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยด้านที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือ การจัดระบบข้อมูล รองลงมา คือ ด้านการลงข้อสรุป ด้านการระบุปัญหา และการรวบรวมข้อมูล
References
กระทรวงศึกษาธิการ. 2560. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จารุวรรณ คงทวี. 2551. การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมละเลงสีด้วยนิ้วมือ.
ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชลาธิป สมาหิโต. 2560. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านการเล่านิทาน
สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารวิทยบริการ. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 28(3), 177-184.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. 2556. การพันฒนาการคิดฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุคนธ์ สินธพานนท์, วรรัตน์ วรรณเลิศลักษณ์ และพรรณี สินธพานนท์. 2551. ทักษะการคิดพิชิตการสอน.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณืวิทยาลัย.
สุภาวดี หารเมธี และคณะ. 2562. คู่มือพัฒนาทักษะสมอง EF Executive Functions สำหรับครูปฐมวัย.
กรุงเทพมหานคร : มติชน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การจัดการการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็น
ฐาน. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีการพิมพ์.
Camp, G. 2002. PBL : Step by step : A guide for students and tutors. Rotterdam: Psychology
Department, Erasmus University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์