การจัดกิจกรรมร่วมมือรวมพลังเชิงรุกในสังคมยุคศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ พูลปั้น สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • วันเพ็ญ บุตรพรม สาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมเรียนรู้, การเรียนรู้ร่วมมือรวมพลังเชิงรุก, สังคมในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอเนื้อหา การจัดกิจกรรมร่วมมือรวมพลังเชิงรุกในสังคมยุคศตวรรษที่ 21 เป็นกระบวนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการมีบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนได้   ลงมือปฏิบัติ เรียนรู้ และดำเนินกิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ ชี้แนะ กระตุ้น หรืออำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ผ่านการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียน และการนำเสนอข้อมูล ลักษณะการจัดกิจกรรมเรียนรู้ร่วมมือรวมพลังเชิงรุก เป็นกระบวนการที่สมาชิกภายในกลุ่มมีการร่วมมือกันเรียนรู้ โดยผู้เรียนร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม สามารถบูรณาการความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ เรียนรู้ และเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ซึ่งการจัดกิจกรรมเรียนรู้ร่วมมือรวมพลังเชิงรุกมีรูปแบบและเทคนิค  ที่หลากหลาย  โดยครูผู้สอนสามารถนำมาใช้ออกแบบแผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้และกิจกรรมเรียนรู้ร่วมมือรวมพลังเชิงรุกที่เหมาะสมกับผู้เรียน กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน มีการปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น  ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์และความสำเร็จในการเรียน เป็นการจัดกิจกรรมเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนาการกระบวนการเรียนรู้  ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะสังคมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคปัจจุบัน

References

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2543). การสอนแบบจิตปัญญา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรสโปรดักส์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2562). “ทักษะสังคม” พื้นฐานการอยู่รวมกันอย่างมีความสุข. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2562. สืบค้นจาก http://www.kriengsak.com/node/1288

จุลมณี สุระโยธิน. (2544). ผลของการจัดกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันทางอินเตอร์เน็ตด้วยการเขียนสะท้อนคิดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อทักษะสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2543). การพัฒนากระบวนการคิด. เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการคิดตามแนวปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้. นครปฐม: ศูนย์ศึกษาพัฒนาครู คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542, กระทรวงศึกษาธิการ.

วัชรี เกษมพิชัยณรงค์ และคณะ. (2555). เอกสารการเรียนรู้เชิงรุกและเทคนิควิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนเชิงรุก: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิจารณ์ พาณิชย์. (2554). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21: สู่ภพภูมิใหม่แห่งการพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิมพลักษณ์.

วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร (2560) และเยาวเรศ ภักดีจิตร (2557). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยราชภัฎพิบูลย์สงคราม, 11(2), หน้า 1-14.

ศิริรัตน์ ชูชีพ. (2544). พฤติกรรมชอบสังคมของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Council for private Education in Singapore, (http://www.cpe.gov.sg/forpeis/edutrust= certification-scheme/Edu trust-certification-scheme)

Meyers, Chet and Jones, Thomas B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for the Collage Classroom. San Francisco: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28