การรับรู้ของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ชนัญชิดา ช่างฟอก คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานครนายก
  • ชาลิสา นาเขตร คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานครนายก
  • ชนนิกานต์ วิถี คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานครนายก
  • ณัฐชยา ปาลพูล คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานครนายก
  • มนต์ธิญา มหามาตย์ คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานครนายก
  • ขวัญใจ จริยาทัศน์กร คณะครุศาสตร์ สาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานครนายก

คำสำคัญ:

การรับรู้, ผู้ปกครอง, การจัดการศึกษาปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก และเปรียบเทียบการรับรู้ของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อมโรงเรียน  ด้านครูผู้สอน ด้านการจัดบริการนักเรียน และด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองของนักเรียนที่ศึกษา ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก จำนวน 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถาม การรับรู้ของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.963 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และ F-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. การรับรู้ของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยอันดับแรกคือ ด้านครูผู้สอน รองลงมาคือ ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านสภาพแวดล้อมโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง และสุดท้ายคือ ด้านการจัดบริการนักเรียน ตามลำดับ

2. การเปรียบเทียบการรับรู้ของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ด้านการจัดประสบการณ์ การเรียนการสอน ด้านสภาพแวดล้อมโรงเรียน ด้านครูผู้สอน ด้านการจัดบริการนักเรียน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก จำแนกตามข้อมูลทั่วไปไม่แตกต่างกันในทุกด้าน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

Teera Kiatcharoensethasin. (2017). Minister of Education. Early Childhood Education Program

Ministry of Education. http://www.escd.or.th/data/2017/kin_curriculum2560.pdf

Piyanan Hiran Chalonrat. (2018). Developing learning experience arrangement for early childhood teachers to promote skillsThinking for children aged 3-4 years Community Printing House, Agricultural CooperativeThailandLimited. https://www.tcithaijo.org/ index.php/suedureasearchjournal/article/download/137776/123190/

Sukanya Chanyapanya, (2012). The opinions of parents of students towards educational management at early childhood level.Of Ban Khu Pradu School Phran Kratai District Kamphaeng Phet Province http://www.thongsook.ac.th/main/admin/uploads/ FacultyOfGrad/1098-file-researchstd1.pdf

Siribongkoch Reantong. (2014). Parents’ Participation In The Management Of Child Development Centers Under Tambon Administrative Organizations In Muang District, Kanchanaburi. Master of Education, Program Educational Administration, Kanchanaburi Rajabhat University.

Supakorn Charoen Sin, (2016). The satisfaction of parents of students towards educational management. Early Childhood at Suan Pa Khao Chaang School Chonburi Provincial Administration Organization Faculty of Education, Burapha University. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57920563.pdf

Panutta Chanboonchan. (2017). The Guardian,s Satisfaction on Early Childhood Education of Anubansriwattanawittaya School office of Primary Education Sa Kaeo district 2. Degree of Master of Education Pathumthani University.

Piyanuch Sritapanya. (2017). Factors Relationalship the Quality Development of Learning Early Educational in Chonburi Primary Educational Service Area Office 2. Faculty of Education, Burapha University.

Duangrat Ruangruai. (2012) Parental satisfaction Community leaders and personnel towards the administration of the center Child development of Kret Kaew Subdistrict Municipality, Sattahip District, Chon Buri Province. http://opac.lib.buu.ac.th/servlet/ SimpleSearch

Supoj Sarai, (2005). Parents' satisfaction with early childhood education management in schools under the jurisdiction of Samut Sakhon municipality http://journalrec.mbu. ac.th/images/pdf/journal4-1/12p119-130.pdf

Wanwari Chanchairassami, (2011). Choosing a kindergarten for parents of preschool children in the Jimbo Play network And Music. M.D. Thesis (Early Childhood Education). Srinakharinwirot University http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Wanwaree_J.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28