การพัฒนารูปแบบการสอนชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้เรื่องเคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับการใช้อินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกบินทร์วิทย

ผู้แต่ง

  • ฐิติพร เผือกพิบูลย์ โรงเรียนกบินทร์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนชีววิทยา 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนชีววิทยา และ 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการเรียนชีววิทยาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนชีววิทยา หน่วยการเรียนรู้เรื่องเคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับการใช้อินโฟกราฟิก เพื่อเสริมสร้างทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนกบินทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 โดยใช้เครื่องมือ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนชีววิทยา 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 4) แบบวัดเจตคติต่อวิชาชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent t-test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ได้รูปแบบการสอนชีววิทยา มีองค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์  3) กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 : Prepare & Infographic ขั้นที่ 2 : Prescribe ขั้นที่ 3 : Plan ขั้นที่ 4 : Practice  และขั้นที่ 5 : Present & Infographic 4) รูปแบบการสอนชีววิทยาตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

 2.  ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนชีววิทยา พบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนชีววิทยา มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก และ 3) นักเรียนมีเจตคติต่อวิชาชีววิทยา โดยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

References

ชลิต กังวาราวุฒิ. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบศิลปะภิวัฒน์ผ่านคลาวด์ เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชลาธร วิเชียรรัตน์. (2558). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกวิชาเคมี เรื่อง อนุพันธ์ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญุรีย์ สมองดี. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาเรื่อง การถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรมโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการคิดวิเคราะห์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

นัจภัค มีอุสาห์. (2556). อิทธิพลของชุดข้อมูลและสีสันต่อความเข้าใจเนื้อหาของภาพอินโฟกราฟิกวิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2556). นวัตกรรม: การเรียนและการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ (Innovation: Computer-based Learning and Teaching). กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุก แบบรวมพลัง กับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2553). ครูเพื่อศิษย์ เติมหัวใจให้การศึกษา. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา.มหาวิทยาลัยมหิดล.

วราภรณ์ พรมนิล. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการ โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศุภผล ตาเทพ. (2556). การพัฒนาเกมการสอนแบบซินเนติกส์บนเว็บผ่านแท็บเล็ตเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศศิเทพ ปิติพรเทพิน, อรวรรณ คูหเพ็ญแสง, ทัศนีวรรณ์ เลิศเจริญฤทธิ์ และสุชาดา ศรีศกุน. (2562). โครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: วิสต้าอินเตอร์ปรินท์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติม วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

สันติ หุตะมาน. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับระบบการให้คำปรึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้ เรื่องการควบคุมระบบ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้าศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2550). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 15 มีนาคม 2562. จากเว็บไซต์: http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf

อัครเดช นีละโยธิน. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน:

การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

Bell, S. (2010). “Project-based learning for the 21st century: Skills for the future.” The Clearing House. 83(2), pp. 39-43.

Eggen, P., & Kauchak, D. (1997). Educational psychology: Windows on classrooms. Upper Saddle River, NJ: Merrill.

Joyce, B. R., Weil, M., & Calhoun, E. (2015). Models of teaching (9th ed.). Boston, MA: Pearson.

Jun Sakurada. (2008). Basic Infographic. นนทบุรี: ไอดีซ.

Reiser, R. A. and Dempsey, J. V. (2012). Trends and issues in instructional design and technology. 3rd ed. New Jersey: Pearson Education.

Roehler, L. R., & Cantlon, D. J. (1996). Scaffolding: A powerful tool in social constructivist classrooms. Retrieved from http://www.educ.msu.edu/units/literacy/paperlr2.htm

Turiman, P., Omar, J., Mohd, J., Daud and K., Osman. (2012). Fostering the 21st Century Skills through Scientific Literacy and Science Process Skills. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 17 October 2012.

Vanichvasin, P. (2015). Potentials of using Infographics in Enhancing the quality of Learning (in Thai). Panyapiwat Journal, 7(special), 227-240.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Cambridge: Harvard University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-28