การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูปฐมวัยด้านทักษะการสังเกตพฤติกรรมเด็ก ผ่านการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติในรายวิชาการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
คำสำคัญ:
ทักษะการสังเกตพฤติกรรมเด็ก, การเรียนรู้ด้วยการลงมือปฎิบัติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูปฐมวัยด้านทักษะการสังเกตพฤติกรรมเด็ก โดยการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฎิบัติในรายวิชาการสอนแบบมอนเตสซอรี่ ของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตพฤติกรรมเด็ก โดยการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฎิบัติในรายวิชาการสอนแบบ มอนเตสซอรี่ก่อนและหลังการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ตอนเรียน A1 จำนวน 26 คน โดยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสังเกตคุณลักษณะความเป็นครูปฐมวัยด้านทักษะการสังเกตพฤติกรรมเด็ก ประเมินค่า 3 ระดับที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้อง(IOC) อยู่ระหว่าง .72 – 1.00 การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัย แบบ One-Group pretest-posttest design
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นครูปฐมวัยด้านการสังเกตพฤติกรรมเด็ก โดยการเรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ หลังการวิจัยสูงกว่าก่อนการวิจัย
References
กิติมา ปรีดีดิลก. (2520). ปรัชญาการศึกษา เล่ม1 : ความรู้เบื้องตนเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษากรุงเทพมหานคร: ประเสริฐการพิมพ์
จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และคำแก้ว ไกรสรพงษ์. (2544). การจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดของ
มอนเตสซอรี่ในบริบทของสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
ปวริศร์ โชติพงษ์วิวัฒิ. (2560). วิเคราะห์ปรัชญาการศึกษาพิพัฒนาการนิยม. วารสารศึกษาศาสตร์
มมร, 5(2), 90-98.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2554). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาครุศาสตร์และสาขาศึกษาศาสตร์(หลักสูตรห้าปี). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา
สมภาร พรมทา. (20 มกราคม 2563). ปรัชญาการศึกษา ตอนที่หนึ่ง : กริ่นนำ, สนทนากับนิสิต ปริญญาโท สาขาปรัชญา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สืบค้นจากhttps://www.youtube.com
อรอนงค์ โฆษิตพิพัฒน์. (2562). การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ลงมือปฏิบัติที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน รายวิชาการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ระดับชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาการจัดการ. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 10(2), 238-251.
Helfrich, S. (2016). Observation. NAMTA Journal, 41(3), 259-264
Johnson, R. T., & Johnson, D. W. (2008). Active learning: Cooperation in the classroom. The annual report of educational psychology in Japan, 47, 29-30.
Lontz, K. M. (2016). Observation: A Practice That Must Be Practiced. NAMTA Journal, 41(3), 101-131.
Montessori, M. (2012). Advanced Montessori Method Volume 1. สืบค้นจาก https://archive.org สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564
Montessori, M. (2013). The montessori method. Transaction publ
Montessori, M. (2016). Lecture 3: Some Suggestions and Remarks upon Observing Children. NAMTA Journal, 41(3), 391-397.
Patell, H. (2016). Observation. NAMTA Journal, 41(3), 249-257.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารการจัดการทางการศึกษาปฐมวัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ห้ามผู้ใดนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นอกจากนี้ เนื้อหาที่ปรากฎในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์