สองหัวดีกว่าหัวเดียว บทบาทของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • ศาสตาราจารย์ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์

บทคัดย่อ

ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หรือบางแห่งใช้ว่าการเรียนรู้ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Professional Learning Community (PLC) เป็นแนวคิดและกิจกรรมที่กำลังได้รับความสนใจ และความนิยมอย่างกว้างขวางในวงการศึกษาของไทยเอง และของต่างประเทศ โดยเชื่อกันว่ากิจกรรม PLC นี้ จะนำมาซึ่งคุณภาพของการศึกษา ทั้งคุณภาพผู้เรียน ผู้สอน บุคลากร และตัวผู้บริหารเอง

            โดยทั่วไปแล้วในต่างประเทศจะใช้กิจกรรม PLC ในโรงเรียนมากกว่าหน่วยงานกลางอื่น ๆ หรือกลุ่มของครู ประเภทต่าง ๆ (Murphy, 2017) เป้าหมาย PLC ในโรงเรียนนั้นจะเป็นไปที่ตัวเด็ก คือ ครูทำงานร่วมกัน (ในโรงเรียนร่วมกับผู้บริหาร) คำไทยเรามีว่า สองหัว (หรือหลายหัว) ดีกว่าหัวเดียว ว่าเป็นความคิดในเชิงชุมชนวิชาชีพของไทยเรานั้นเอง ซึ่งเชื่อกันมานานแล้ว การทำงานเรื่องใด ควรทำร่วมกันโดยเฉพาะการแก้ปัญหาเด็ก และหาทางให้เด็กในโรงเรียนของตนมีคุณภาพดีขึ้น

            ทำไมต้องมี Community อย่งนี้ขึ้นมาในโรงเรียน การบริหารปกติไม่พอหรือ คำตอบคือ ไม่พอเพราะปัญหาเด็กมีมาก ผู้บริหารเองมามีเวลาพอที่จะแก้ปัญหาได้ทัน อีกประการหนึ่งหลายปัญหาผู้บริหารเองไม่ชำนาญพอที่จะทำเองได้ จึงเกิดความคิดในการนำครู (หรือกลุ่มครู) เข้ามาร่วมในการบริหารวิชาการในลักษณะของ Shared Leadership ยังไม่ใช่ Delegated Leadership (Wilhelm, 2017) ซึ่งเป็นที่มรของ PLC ในสถานศึกษานั่นเอง

References

วิชัย วงษ์ใหญ่, (2558). “ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” ในสารานุกรมการศึกษาร่วมสมัยฉบับเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558, กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
ราชบัณฑิตยสภา, (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสภา.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์, (2561). จำเป็นต้องปฏิรังสรรค์การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
Bales, Katherine and Rroch Vince, (2014). The Power of Techer Rounds. California: Cowin.
Fernandez, Celea and Yossida Makoto, (2004). Lesson Study: Japanese Approaes to Inproving mathematich teaching and learning. New York: Routledge.
Murphy, Jopeph, f. (2017). Professional Standard for Education leaders. New York:
Cowin.
Pang, NSK, and Leumg, ZLM, (2016). “Exploring the Practice of Professional Leanning
Communities: Case of Hong Kong Primary Schools” in Harris Alme, and Jones &
Michell (eds) Leading Futures: Global Perspectives on Educational Leadership Los Angles: SAGE.
Wilhelm, Terry, (2017). Shared Leadership: the Essential lngredient for Effective PLC.
California: Cowin.
Saito, Eisnke and other, (2015). Lesson Stud to Learning Community. New York: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-28