การวิเคราะห์บทบาทและอำนาจของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร ในฐานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

บทบาท, อำนาจ, เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร, กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทบาทและอำนาจของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรในฐานะกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ผลการศึกษาในด้านบทบาทพบว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร  ทรงมีบทบาทในการปฏิบัติหน้าที่ด้านบริหารบ้านเมืองตามพระบรมราชโองการของสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ นอกจากนี้ยังพบว่าทรงมีบทบาทในการช่วยเหลือบาทหลวงและพวก เข้ารีตศาสนาคริสต์ให้รอดพ้นจากการถูกขุนนางไทยกดขี่ สำหรับผลการศึกษาด้านอำนาจ  พบว่า เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงมีอำนาจในการสั่งลงโทษขุนนางผู้ใหญ่ชั้นอัครมหาเสนาบดี รวมถึงข้าในกรมของเจ้าต่างกรมได้

References

ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยารวม 3 เรื่อง : คำให้การชาวกรุงเก่า คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรมคำให้การขุนหลวงหาวัด. (2553). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

พูลศรี นนทรีย์. (2527). สมุหนายกและสมุหพระกลาโหม : บทบาทและอำนาจทางด้านการเมือง การปกครองนับแต่รัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจนสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่ง สุริยามรินทร์. (วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์เอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

วิไลเลขา ถาวรธนสาร และคณะ. (2542). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

อรวรรณ ทรัพย์พลอย. (2558). การสถาปนาตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) ในประวัติศาสตร์ไทย. ใน พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977).

อรุณ อมาตยกุล, ผู้แปล. (2562). จดหมายมองเซนเยอร์ เดอ โลลีแยร์ ถึงผู้อำนวยการคณะ

ต่างประเทศ วันที่ 28 เดือน มกราคม ค.ศ. 1749 (พ.ศ. 2292). ใน จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

_______. (2562). จดหมายมองเซนเยอร์ เดอ โลลีแยร์ ถึงผู้อำนวยการคณะ

ต่างประเทศ วันที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1743 (พ.ศ. 2286). ใน จดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาตั้งครั้งกรุงศรีอยุธยา. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23