ศิลปะการประพันธ์เพลงฉ่อยประยุกต์

ผู้แต่ง

  • ศราวุธ สุดงูเหลือม นักวิชาการอิสระและนักแสดงเพลงพื้นบ้านภาคกลางจังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

ศิลปะการประพันธ์ , เพลงฉ่อยประยุกต์ , เพลงพื้นบ้านภาคกลาง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอศิลปะการประพันธ์เพลงฉ่อยประยุกต์ ซึ่งเพลงฉ่อยประยุกต์เป็นเพลงพื้นบ้านภาคกลางที่ใช้รูปแบบการประพันธ์เนื้อหาและภาษาที่ทันสมัยจนได้รับความนิยมจากผู้ชมเป็นอย่างดี บทความนี้นำเสนอแนวทางการใช้ศิลปะการประพันธ์เพลงฉ่อยประยุกต์ใน 3 ประเด็น ได้แก่ กวีนิพนธ์เพลงฉ่อยประยุกต์ ความสนุกของเนื้อหา และการใช้ภาษาอย่างมีพลัง ในด้านการใช้ภาษาผู้เขียนบทความใช้การนำเสนอตามแนวคิดของสมบัติ สมศรีพลอย ที่กล่าวถึงศิลปะการใช้ภาษาในเพลงฉ่อยไว้ 4 ประการ คือ เสน่ห์เสียงอักษรศิลป์ เสน่ห์คำยิน  ของลับ เสน่ห์จับจินตภาพพจน์ และเสน่ห์ปรากฏการลำดับความ ผู้สนใจสามารถใช้แนวทางดังกล่าวไปพัฒนา ฝึกฝน และนำไปต่อยอดเพื่อเป็นศิลปะในการประพันธ์เพลงฉ่อยประยุกต์

References

บัวผัน สุพรรณยศ, อภิลักษณ์ เกษมผลกูล, เกียรติศักดิ์ เกิดอรุณสุขศรี, สมบัติ สมศรีพลอย, โอฬาร รัตนภักดี และ มณฑิรา ตาเมือง. (2557). เพลงพื้นบ้านภาคกลาง (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

ประเทือง คล้ายสุบรรณ์. (2522). ร้อยกรองชาวบ้าน. กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์.

รายการคุณพระช่วย. (2566). ฉ่อยหน้าม่าน ตอน ยายโย่งคอลเซนเตอร์ คุณพระช่วย 17 ธันวาคม 2566. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=ELzg0J95YAQ&t=588s

ศราวุธ สุดงูเหลือม. (2562). วิเคราะห์การใช้ถ้อยคำแบบกวีนิพนธ์ในบทเพลงพื้นบ้านของแม่ประยูร ยมเยี่ยม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ศราวุธ สุดงูเหลือม. (2565, กรกฎาคม - ธันวาคม). วิเคราะห์คำพังเพยชาวบ้านที่ปรากฏในบทเพลงฉ่อยของพ่อสุชิน ทวีเขตต์. วารสารอักษราพิบูล, 3(2), 69 – 80.

ศราวุธ สุดงูเหลือม และ วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2562, กรกฎาคม - ธันวาคม). การใช้ถ้อยคำสังวาสในบทเพลงพื้นบ้านของแม่ประยูรยมเยี่ยม. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 87 - 102.

สมบัติ สมศรีพลอย. (2564). “เพลงเกริ่น” เพลงฉ่อย: เสน่ห์เพลงพื้นบ้านภาคกลาง. วารสารวิชาการ The New Viridian Journal of Arts, Humanities and Social Sciences (สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 1(6), 44 - 60.

สุกัญญา สุจฉายา. (2525). เพลงปฏิพากย์: บทเพลงแห่งปฏิภาณชาวบ้านไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23