บทบาทหน้าที่ของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ภัชญาภรณ์ จุ่มไฝ นักวิชาการอิสระ
  • ธัญทิพย์ จันพรหมมา นักวิชาการอิสระ
  • สุกัญญา กาหลง นักวิชาการอิสระ
  • สุกัญญาโสภี ใจกล่ำ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

บทบาทหน้าที่ของประเพณี , วัดพระธาตุศรีจอมทอง , แห่ไม้ค้ำโพธิ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยบทบาทหน้าที่ของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้ทฤษฎีบทบาทหน้าที่ของวิลเลียม บาสคอม (William Bascom) ผลการวิจัยพบว่า บทบาทหน้าที่ของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ที่พบมากที่สุด คือ การให้ศึกษาด้วยวิธีการบอกเล่า อาทิ การสอนให้รู้จักสามัคคี  มีความรอบคอบ รับผิดชอบต่องาน ฯลฯ จำนวน 10 ครั้ง  รองลงมาคือการอธิบายที่มาและเหตุผลในการทำพิธีกรรม คือ เชื่อว่าพิธีเป็นส่วนหนึ่งในการค้ำจุนพระพุทธศาสนาให้มีอายุยืนยาว และเป็นโอกาสในการทำบุญร่วมกัน ฯลฯ มีจำนวน 5 ครั้ง อันดับที่สาม คือ การให้ความเพลิดเพลินและเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจของบุคคล คือ ในการประกอบพิธีจะสร้างความสนุกสนานให้แก่ผู้เข้าร่วม ทำให้ผู้เข้าร่วมพิธีคลายความเครียดหรือความคับข้องใจ มีจำนวน 4 ครั้ง และพบน้อยที่สุด คือ การรักษามาตรฐานทางพฤติกรรมที่เป็นแบบแผนของสังคม ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมจะต้องมีพฤติกรรมแบบเดียวกันและ ยังต้องสามัคคีกัน พิธีจึงจะสำเร็จ  โดยจำนวน 3 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 13.1 โดยบทบาทหน้าที่ของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์จึงเป็นเสมือนเครื่องมือในการหล่อหลอมกลุ่มชนให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

References

ขวัญชนก นัยจรัญ และ กฤษณา ชาญณรงค์. (2561). บทบาทหน้าที่ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในการสร้างอัตลักษณ์ชุมชน ตำบลหนองกะท้าว อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(3), 329 – 344.

จักรพงษ์ คำบุญเรือง. (2546). ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง. สืบค้นจากhttps://www.chiangmainews.co.th/page/archives/973435

ธีรโชติ เกิดแก้ว. (2552). ศึกษาวิเคราะห์สัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในยันต์ไทย (รายงานผลการวิจัย). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

พระปลัดจตุพร วชิรญาโณ. (2566, 16 เมษายน). สัมภาษณ์เรื่องที่มาและประวัติของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ของวัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. ผู้สัมภาษณ์: ธัญทิพย์ จันพรหมมา, ภัชญาภรณ์ จุ่มไฝ และสุกัญญา กาหลง. อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่.

พระสมัคร ญาณะศรีโล. (2566, 16 เมษายน). สัมภาษณ์เรื่องที่มาและประวัติของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ของวัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. ผู้สัมภาษณ์: ธัญทิพย์ จันพรหมมา, ภัชญาภรณ์ จุ่มไฝ และสุกัญญา กาหลง. อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่.

พรรณ ใจเสน. (2566, 18 เมษายน). สัมภาษณ์เรื่องขั้นตอนการจัดพิธีการแห่ไม้ค้ำโพธิ์ของวัดพระธาตุศรีจอมทองอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. ผู้สัมภาษณ์: ธัญทิพย์ จันพรหมมา, ภัชญาภรณ์ จุ่มไฝ และสุกัญญา กาหลง. อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่.

มังกร ธิวงษา. (2566, 13 เมษายน). สัมภาษณ์เรื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์. ผู้สัมภาษณ์: ธัญทิพย์ จันพรหมมา, ภัชญาภรณ์ จุ่มไฝ และสุกัญญา กาหลง. อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่.

วันเฉลิม สุริยะวงค์ และ สุกัญญาโสภี ใจกล่ำ. (2563). การศึกษาเรื่องเล่าที่เกี่ยวข้องกับบ่อเกลือพันปี ในบ้านบ่อโพธิ์ ตําบลบ่อโพธิ์ อําเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8(1), 137 - 150.

สมศักดิ์ ธัญชัย. (2566, 16 เมษายน). สัมภาษณ์เรื่องที่มาและประวัติของประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ของวัดพระธาตุศรีจอมทอง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียง. ผู้สัมภาษณ์: ธัญทิพย์ จันพรหมมา, ภัชญาภรณ์ จุ่มไฝ และสุกัญญา กาหลง. อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่.

สุกัญญาโสภี ใจกล่ำ. (2563). บทบาทหน้าที่และอุปกิเลสในนิทานพื้นบ้านภาคเหนือตอนล่าง.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 115 – 127.

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2543). ทฤษฎีคติชนและวิธีการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23