การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษ , กลวิธีการเรียนทางตรง , กลวิธีการเรียนทางอ้อม, อภิปัญญาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาแยกตามเพศ และสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นการเลือกแบบเจาะจง คือ 1) นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน และสาขาวิชาทันตสาธารณสุข 2) หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย จำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามของ Oxford version 5.1 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และมีค่าความเชื่อมั่น 0.871 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติทีแบบเป็นอิสระต่อกัน (t-test Independent) ค่าสถิติเอฟ (F-Test) และทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Schhefe’ Method)
ผลการวิจัยพบว่า กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษในภาพรวมอยู่ในระดับที่มีการปฏิบัติ ปานกลางและผลการเปรียบเทียบกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษจำแนกตามเพศ และสาขาวิชาในภาพรวมไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านกลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนที่ใช้อภิปัญญา
References
นิศากร ประคองชาติ. (2550). ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการใช้กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาไทย ชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยของรัฐ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต, สาขาภาษาอังกฤษศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี).
แพรวพรรณ พริ้งพร้อม. (2551). การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาอังกฤษนักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพชั้นปีที่ 1และชั้นปีที่ 2 (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สมพร โกมารทัต. (2559). การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในกรุงเทพฯและปริมณฑล (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อนุ ยอดพรหมมินทร์ และ นวมินทร์ ประชานันท์. (2550). กลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (รายงานผลการวิจัย). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อรุณี อรุณเรือง, ทรงสิริ วิชิรานนท์ และ ภาวิณี อุ่นวัฒนา. (2560). การศึกษากลวิธีการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
อาภาภรณ์ จินดาประเสริฐ. (2540, มกราคม). การพัฒนากลวิธีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. วารสารวิจัย มข, 2(1), 83-92.
Chamot, A. U. (2004, December). Issues in Language Learning Strategy Research and Teaching. Journal of Foreign Language Teaching, 1(1), 14-26.
Lee, C. K. (2010). An Overview of Language Learning Strategies. ARECLS, 7, 132-152.
Mochizuki, A. (1999, December). Language Learning Strategies Used By Japanese University Students. RELC Journal, 30(2), 101-113.
Nisbet, D. L., Tindall, E. R., & Arroyo, A. A. (2005, March). Language Learning Strategies and English Proficiency of Chinese University Students. Foreign Language Annuals, 38(1), 100-107.
Oxford, R. L. (1990). Language Learning Strategies: What Every Teacher Should Know. Boston: Heinle & Heinle.
Shmais, W. A. (2003, September). Language Learning Strategy Use In Palestine. TESL-EJ, 7(2).
Zare, P. (2012, March). Language Learning Strategies Among EFL/ESL Learners: A Review of Literature. International Journal of Humanities and Social Science, 2(5), 162-169.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย