การศึกษาความหมายและการใช้คำสแลงภาษาอังกฤษในเนื้อเพลงสากล

ผู้แต่ง

  • นริศรา ยศปัญญา Independent Scholar
  • ประกายแก้ว แสนประสิทธิ์ Independent Scholar
  • รัศมี แซ่จาง Independent Scholar
  • อุมาภรณ์ ยศเจริญ English Language Program, Humanities and Social Sciences Faculty, Pibulsongkram Rajabhat University
  • คุณากร คงชนะ English Language Program, Humanities and Social Sciences Faculty, Pibulsongkram Rajabhat University

คำสำคัญ:

ภาษาอังกฤษในเพลง, ความหมายของคำสแลง, คำสแลงในเพลงสากล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายของคำสแลงที่พบในบทเพลงสากลและการใช้คำสแลงที่พบในบทเพลงสากล โดยรวบรวมชื่อบทเพลงจากการจัดอันดับบทเพลงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากชาร์ต Billboard Year End Chart Hot 100 Songs ของบิลบอร์ด (Billboard) ระหว่างปีคริสตศักราช 2016-2020 รวมทั้งสิ้นจำนวน 100 บทเพลง และค้นหา เนื้อเพลงเหล่านั้นจากเว็บไซต์ที่ชื่อว่า lyricsondemand.com การวิจัยนี้ใช้กรอบทฤษฎีของ Luh Putu Karina Febriyanti (2017) สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบคำสแลงทั้งหมดจำนวน 47 คำ โดยคำที่ใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ คำว่า ‘bitch’ มีการใช้ทั้งสิ้น 154 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 17.36 อันดับสองคือคำว่า ‘yeah’ มีการใช้ทั้งสิ้น 118 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 13.30 และอันดับสามคือคำว่า ‘ain't’ มีการใช้ทั้งสิ้น 92 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 10.37 ตามลำดับ

References

กัญญนัช ชะนะจิตร. (2560). การสร้างคำและความหมายของสแลงในเฟซบุ๊ก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

กาญจนา หอมจันทร์, อังค์วรา เหลืองนภา และอนันตชัย เอกะ. (2562). การใช้คำสแลงภาษาอังกฤษในเพลงสากล. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 (น. 418-427). กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปริยทยา วงศ์กาแหงหาญ. (2558). การสื่อสารอัตลักษณ์ความเป็นวัยรุ่นในเนื้อเพลงไทยสากล ค่ายกามิกาเซ่ (Kamikaze). (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาตรมหาบัณฑิต, สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

รัชนี ศิริไสยาสน์. (2551). การศึกษาการสร้างคําและความหมายของคําสแลงในพจนานุกรมฉบับมติชน. (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาภาษาศาสตร์การศึกษา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. สืบค้นจากhttps://dictionary.orst.go.th/

วรรณษา คูตระกูล. (2558, มกราคม). การวิเคราะห์เนื้อเพลงที่สะท้อนความเชื่อและค่านิยม: กรณีศึกษาโครงการเพชรในเพลง. วารสารจันทรเกษมสาร, 21(40), 49–57.

สธนสรณ์ ยุติบรรพ์. (2553). ลักษณะการใช้และความหมายของภาษาสแลงในนิตยสารวัยรุ่น. (การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

Aryawan, L. P. K. F. (2017, December). AN Analysis of the Use of American Slangs on Eminem’s Song Lyrics. Lingua Scientia Journal, 24(2), 59-70.

YEAR-END CHARTS Hot 100 Songs. (n.d.). Retrieved from https://www.billboard.com/charts/year-end/hot-100-songs/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-15