การใช้กลยุทธ์ในการฟังภาษาอังกฤษผ่าน TED แอปพลิเคชันและความคิดเห็น ที่มีต่อ TED แอปพลิเคชัน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
คำสำคัญ:
ทักษะการฟัง , แอปพลิเคชัน TED , กลยุทธ์ในการฟังบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์ในการฟังที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ใช้ในการพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษผ่าน TED แอปพลิเคชัน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามที่มีต่อ TED แอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ในปีการศึกษา2564 ของสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามจำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามการใช้กลยุทธ์การฟังภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า 1.) การใช้กลยุทธ์การฟังภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม อยู่ในระดับมาก โดยกลยุทธ์ที่พบการใช้มากที่สุดได้แก่ การย้อนกลับไปฟังใหม่จนเข้าใจ ( = 3.97, S.D. = 0.87) รองลงมาได้แก่ การสังเกตอวัจนภาษาของผู้พูดไปด้วย ( = 3.73, S.D. = 0.96) และ การฟังโดยมุ่งเน้นเฉพาะคำ ( = 3.59, S.D. = 0.97) ตามลำดับ 2.) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มีความสามารถในการฟังภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดีมาก 3.) ความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามที่มีต่อ TED แอปพลิเคชัน อยู่ในระดับมาก
References
เฉลิมชัย ครุฑจ้อน. (2522, พฤษภาคม). การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยเทคนิคการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 10(2), 227-236.
ชินวัจน์ งามวรรณกร. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เรื่องภาษาอังกฤษสำหรับนักสารสนเทศ (รายงานผลการวิจัย). ยะลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
บุปผา อยู่ทรัพย์. (2555). การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่านการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. วารสารวิจัย มสด, 8(2), 189-204.
ปวีณนุช พุ่มจิต และอังค์วรา เหลืองนภา. (2562). การใช้แอปพลิเคชันในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษด้านการฟัง. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 (น. 550-561). กรุงเทพฯ: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ปิยนุช เพ็งลี. (2557). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้พอดคาสต์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษสำหรับผู้พูดภาษาอื่น, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี).
มณีรัตน์ กรรณิกา และอภิราดี จันทร์แสง. (2560, กรกฎาคม). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษโดยใช้รายการโทรทัศน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(2), 127-133.
รมณียา สุรธรรมจรรยา. (2558). ผลการใช้แอปพลิเคชันสำหรับสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษบนแท็บแล็ต วิชาภาษาอังกฤษสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกาปีที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาราชบุรี เขต2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
วาสนา สิงห์ทองลา และสิทธิพล อาจอินทร. (2555, กรกฎาคม). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาเพื่อการสื่อสาร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(3), 56-64.
อารีรักษ์ มีแจ้ง และสิริพร ปาณาวงษ์. (2553, พฤษภาคม). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูภาษาอังกฤษโดยใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับครูผู้สอนช่วงชั้นที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(2), 17-31.
Gavenila, E. I., Wulandari, M., & Renandya, W. A. (2021, January). Using TED Talks for Extensive Listening. PASAA: Journal of Language Teaching and Learning in Thailand, 61, 147-175.
Nakatani, Y. (2006, Summer). Developing an Oral Communication Strategy Inventory. The Modern Language Journal, 90(2), 151-168.
Oller, J. W., Jr. (Ed.). (1983). Issues in Language Testing Research. Massachusetts: Newbury House.
Ramos, L., & Valderruten, A. (2017, August). Development of Listening and Linguistic Skills through the Use of a Mobile Application. English Language Teaching, 10(9), 95-107.
Rost, M. (1994). Introducing Listening. London: Penguin.
Rubin, J. (1994, Summer). A Review of Second Language Listening Comprehension Research. The Modern Language Journal, 78(2), 199-221.
Shiri, S. (2015, June). The Application of Podcasting as a Motivational Strategy to Iranian EFL Learners of English: A View toward Listening Comprehension. Advances in Language and Literary Studies, 6(3), 155-165.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย