นิทานพื้นบ้านของอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก : การวิเคราะห์ความขัดแย้ง และการแก้ไขปัญหา
คำสำคัญ:
นิทานพื้นบ้าน , อำเภอนครไทย , ความขัดแย้ง , การแก้ไขปัญหาบทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหาที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านของอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก โดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมของตัวละครที่ปรากฏในนิทาน โดยใช้นิทานจำนวน 65 เรื่อง ผู้วิจัยได้ใช้กรอบแนวคิดของความขัดแย้งและกรอบแนวคิดการแก้ไขปัญหา ผลการวิจัยพบว่า ความขัดแย้งที่พบมากที่สุดคือความขัดแย้งกับผู้อื่นคิดเป็นร้อยละ 70.66 โดยแยกเป็นความขัดแย้งกับผู้อื่นภายในกลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 21.90 และความขัดแย้งกับผู้อื่นภายนอกกลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 48.76 ความขัดแย้งที่พบรองลงมาคือความขัดแย้งกับตนเอง คิดเป็นร้อยละ 15.29 ความขัดแย้งกับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 7.85 และความขัดแย้งที่พบน้อยที่สุด คือ ความขัดแย้งกับสิ่งที่เหนือธรรมชาติ คิดเป็นร้อยละ 6.20 ส่วนสาระสำคัญของการแก้ไขปัญหาพบจำนวนทั้งสิ้น 14 วิธี โดยเรียงลำดับจากที่พบมากที่สุดไปน้อยที่สุดใน 3 อันดับแรก คือ การแก้ไขปัญหาโดยการพึ่งตนเองหรือผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 20.19 รองลงมาคือการแก้ไขปัญหาโดยการลงโทษตนเองหรือผู้อื่น คิดเป็นร้อยละ 12.73 และการแก้ไขปัญหาโดยการเจรจา คิดเป็น ร้อยละ 11.18 การแก้ไขปัญหาที่ไม่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านของอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลกคือ การแก้ไขปัญหาโดยการใช้กฎหมาย
References
พระสมเกียรติ ติดชัย. (2550). การวิเคราะห์ความเชื่อและค่านิยมจากนิทานพื้นบ้านของอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนม ครุฑเมือง. (2553). นิทานท้องถิ่นภาคเหนือตอนล่าง: การวิเคราะห์ความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหา. พิษณุโลก: ภาควิชาภาษาและคติชนวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สนิท บุญฤทธิ์. (2544). นิทานพื้นบ้านภาคใต้. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น.
สมเกียรติ ติดชัย. (2558). เวสสันดรชาดก: การวิเคราะห์ความขัดแย้งและการแก้ไขปัญหา. (ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย