อุปกิเลส 16 ที่ปรากฎในนวนิยายเรื่อง กรงกรรม
คำสำคัญ:
อุปกิเลส 16, นวนิยาย, กรงกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาอุปกิเลส 16 ที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องกรงกรรม ของ จุฬามณี ตีพิมพ์ปี พ.ศ.2560 ครั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า อุปกิเลส 16 ที่ปรากฏมากที่สุด คือ 1) โกธะ (ความโกรธ) ปรากฏในนวนิยายจำนวน 36 ครั้ง รองลงมา คือ 2) อภิชฌาวิสมโลภะ (ความโลภ) และ อิสสา (ความริษยา) จำนวน 12 ครั้ง คือ 3) อติมานะ (ความถือตัว) จำนวน 8 ครั้ง 4) ถัมภะ (ความหัวดื้อ) และ สารัมภะ (ความแข่งดี) จำนวน 6 ครั้ง 5) พยาบาท (คิดร้ายเขา) และอุปนาหะ (ความผูกโกรธ) จำนวน 5 ครั้ง 6) มานะ (ความถือตัว) จำนวน 4 ครั้ง 7) มัจฉริยะ (ความตระหนี่) จำนวน 3 ครั้ง และอุปกิเลสที่ปรากฎ น้อยที่สุด คือ 8) ปมาทะ (ความประมาท) ปลาสะ (ความตีเสมอ) และมทะ (ความมัวเมา) จำนวน 1 ครั้ง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าตัวละครมีพฤติกรรมโกรธมากที่สุด ด้วยสาเหตุของความโลภและความอิจฉา อันเป็นกิเลสละเอียดที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง และความทุกข์ในชีวิต นวนิยายเรื่องนี้จึงเป็นกระจกสะท้อนแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ทำให้เราเห็นสาเหตุแห่งทุกข์ และสอดแทรกข้อคิดในการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขให้แก่ผู้อ่านได้เป็นอย่างดี
References
กุลณัฐ ธิจันทร์ และคณะ. (2561). การศึกษาอุปกิเลสในนิทานพื้นบ้านของชาวตําบลโกรกกราก อําเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
จุฬามณี. (2560). กรงกรรม. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
ณัฐกานต์ โพธิ์ปาน และคณะ. (2561). การศึกษาอุปกิเลสในนิทานพื้นบ้านอีสานตอนใต้ (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2545). นวนิยายกับสังคมไทย (พ.ศ.2475 - 2500) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นัฐนรี เกตุพรหมมา และคณะ. (2560). การศึกษาอุปกิเลสที่ปรากฏใน นิทานพื้นบ้านจังหวัดนครราชสีมา (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
นายอินทร์. (ม.ป.ป.). กรงกรรม. สืบค้นจาก https://www.naiin.com/product/detail/224137
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2565). กรงกรรม. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/กรงกรรม.
สุกัญญาโสภี ใจกล่ำ. (2563, พฤศจิกายน). บทบาทหน้าที่และอุปกิเลสในนิทานพื้นบ้านภาคเหนือตอนล่าง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(6), 115–127.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (2555). พุทธวจนะในธรรมบท. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย