จารึกของอาณาจักรพุกาม

ผู้แต่ง

  • นวพรรณ ภัทรมูล Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organisation)
  • ยุทธพร นาคสุข Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University

คำสำคัญ:

จารึก, อาณาจักรพุกาม , สหภาพเมียนมา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลทั่วไปของจารึกสมัยอาณาจักรพุกาม ซึ่งอาณาจักรนี้ตั้งอยู่ในเขตที่ราบใจกลางของประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ยุคโบราณ จารึกสมัยอาณาจักรพุกาม (พุทธศตวรรษที่ 14-19) ประมาณการว่ามีจำนวนไม่ต่ำกว่า 550 รายการ ใช้ภาษาในการบันทึก 7 ภาษา ได้แก่ ภาษาบาลี ภาษาพม่า ภาษามอญ ภาษาปยู ภาษาสันสกฤต ภาษาจีน และภาษาทมิฬ อักษรที่พบในจารึกมีทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ อักษรปยู อักษรมอญโบราณ อักษรพม่าโบราณ อักษรจีน อักษรทมิฬ อักษรเทวนาครี และอักษรอินเดียใต้ วัตถุที่ใช้จารึกมีอยู่หลายประเภท เช่น ศิลา แผ่นดินเผา พระพิมพ์ โลหะ วัตถุจารึกพบมากที่สุด คือ ศิลา เนื้อหาของจารึกอาณาจักรพุกามแบ่งตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 7 ประเภท ประเภทที่ 1 เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับของที่อุทิศถวายให้ศาสนา ประเภทที่ 2 เพื่อบันทึกความรู้สึกของผู้จารึก ประการที่ 3 เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญที่ผู้จารึกได้กระทำและประสงค์จะเผยแพร่สู่สาธารณชน ประเภทที่ 4 เพื่อเล่าเรื่องการสร้างถาวรวัตถุและรายละเอียดของสิ่งที่สร้าง ประเภทที่ 5 เพื่อเป็นการสาปแช่งทำให้ผู้ที่คิดจะลบล้างหรือทำลายสิ่งที่มีผู้สร้างถวายไว้กับพระพุทธศาสนาได้เกิดความเกรงกลัวและไม่กล้าทำการดังกล่าว ประเภทที่ 6 เพื่อบันทึกเรื่องราวในพระพุทธศาสนา  และประเภทที่ 7 เพื่อบันทึกกฎหมายและคดีความ สำหรับแจ้งให้ประชาชนได้ทราบ ใช้เป็นแนวทางการปกครองและตัดสินคดี อาณาจักรพุกามล่มสลายลงไปเพราะถูกกองทัพมองโกลโจมตีในปี พ.ศ.1830

References

กรรณิการ์ ถนอมปัญญารักษ์. (2547). พุทธศาสนากับพม่าในสมัยอาณาจักรพุกาม (ค.ศ. 1057-1287). (สารนิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

กังวล คัชชิมา. (2556). จารึกมยะเจดีย์ หลักฐานสำคัญของประวัติศาสตร์พม่า. ใน เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมไทย-รามัญ : เนื่องในวาระอายุวัฒนมงคลครบ 80 ปี ของศาสตราจารย์พิเศษ ดร.จำลอง สารพัดนึก (น. 68-71). กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชะเอม แก้วคล้าย. (2535). จารึกเหรียญเงินปยู. วารสารศิลปากร, 35(2), 86-92.

ตูซาร์นวย. (2554). ภาษาพม่าพื้นฐาน 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ยุทธพร นาคสุข. (2557). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับจารึกของอาณาจักรศรีเกษตร. ใน ความสัมพันธ์ของภาษาและรัฐโบราณในอาเซียน (น. 115-134). กรุงเทพฯ: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุจยา อาภากร, ม.ร.ว. และนฤมล ธีรวัฒน์ (บก). (2551). มองพม่าผ่านชเวดากอง. เชียงใหม่ : ซิลค์เวอร์ม.

วิรัช นิยมธรรม. (2555ก). ศิลาจารึกกับเค้ามูลทางสังคมและวรรณกรรมพม่าในสมัยพุกามอันไพบูลย์. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/15579

________. (2555ข). ราชกุมาร : เจ้าชายยอดกตัญญูจากปฐมศิลาจารึกภาษาพม่า. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/15573

สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์. (2542). ต้นเค้า กำเนิดและวิวัฒนาการของอักษรและอักขรวิธีไท. เชียงใหม่ : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, หม่อมเจ้า. (2535). ประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ ถึง พ.ศ. 2000. กรุงเทพฯ: สมาคมประวัติศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.

สุริยา รัตนกุล, คุณหญิง. (2544). นานาภาษาในเอเชียอาคเนย์ ภาคที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยภาษาเพื่อพัฒนาชนบท.

Aung-Thwin, M. (1985). Pagan: The Origins of Modern Burma. Honolulu: University of Hawaii Press.

Duroiselle, C. (ed.). (1921). A List of Inscriptions Found in Burma. Rangoon: Government Press.

Hla, P. N. (1975, October). Comparative Study of Old & Modern Burmese. Journal of Burma Research Society, 58, pt. 1.

Ko, T. S., and Duroiselle, C. (ed.). (1972). Epigraphia Birmanica being Lithic and other Inscriptions of Burma, Volume 1, Part 1. Rangoon: Archaeological Survey of Burma.

Luce, G. H. (1985). Phases of Pre-Pagan Burma: Languages and History, volume 1. Great Britain: Oxford University Press.

Monzel, B. H. (2019). Epigraphy as a Source for the History of Old Burma. In the 3rd SEAMEO SPAFA International Conference (p. 83-92). Bangkok: SEAMEO SPAFA Regional Centre for Archaeology and Fine Arts.

Monzel, N. B. N. (n.d.). Myittha Slab Inscription of King Sawlu (Bajrâbharaṇadeva). Retrieved from https://www.academia.edu/30201343/Myittha_Slab_ Inscription_of_King_Sawlu_Bajr%C3%A2bhara%E1%B9%87adeva

Naksuk, Y. (2017). Inscriptions of Sri Ksetra and Bagan Kingdoms. In A Collection of Papers on Myanmar Language and Literature (p. 167-206). Chiang Mai: Patara Prepress.

Shafer, R. (1943). Phân tích sâu hơn về các hệ thống chữ viết Pyu. HJAS, 7, 37-34.

Skilling, P. (1997, November). The Advent of Theavada Buddhism to Mainland South-east Asia. Journal of the International Association of Buddhist Studies, 23(1), 93-107.

Tun, T. (1987). History Of Buddhism In Burma A.D 1000-1300. Journal of Burma Research Society, 61, 1-266.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-15