ของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต : การวิเคราะห์ประเภทและภูมิปัญญา ในวิธีการทำและวิธีการใช้
คำสำคัญ:
ของใช้พื้นบ้าน, ของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต , ภูมิปัญญาไทยบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประเภทและภูมิปัญญาในวิธีการทำและวิธีการใช้ ของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต โดยศึกษาข้อมูลจากสารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต 135 ประเภท ผลการวิจัยจัดประเภทของใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ประเภทเครื่องมือ ปรากฏจำนวน 100 ประเภท คิดเป็นร้อยละ 74.07 และประเภทเครื่องใช้ ปรากฏจำนวน 35 ประเภท คิดเป็น ร้อยละ 25.93 ส่วนภูมิปัญญาในวิธีการทำและวิธีการใช้พบภูมิปัญญาไทย 10 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ภูมิปัญญาด้วยกลวิธีการดึง ดัน บีบ จับ ยก ทุบ ตี เคาะ ลาก ถู หมุน หนีบ เหวี่ยง เหยียบ ด้วยคน สัตว์ และสิ่งของ จำนวน 57 ประเภท คิดเป็นร้อยละ 42.22 ภูมิปัญญาด้วยกลวิธีการถัก ทอ สาน แกะ สลัก และปั้น จำนวน 19 ประเภท คิดเป็นร้อยละ 14.09 ภูมิปัญญาด้วยกลวิธีการใช้งาไผ่ งาไม้ และใช้บ่วงดักสัตว์ จำนวน 15 ประเภท คิดเป็นร้อยละ 11.11 ภูมิปัญญาด้วยกลวิธีการใช้เดือยขัดกับปิ่น และใช้ใบหวายผูกกับเดือย โดยใช้ตาข่ายคลุมและ ใช้ไม้ทับ จำนวน 12 ประเภท และภูมิปัญญาด้วยกลวิธีการใช้ไม้หรือเหล็กทำเป็นซี่ ๆ ปลายแหลม มัดด้วยปอ หวายและลวด มัดรวมกัน จำนวน 12 ประเภท ในลำดับเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 8.89 ภูมิปัญญาด้วยกลวิธีการตัก รด โพง บรรจุ จำนวน 5 ประเภท และภูมิปัญญาด้วยกลวิธีการใช้ภาชนะทำเป็นรูกลม หรือเหลี่ยม โดยใช้ตอกจักสานหรือเป็นโลหะใช้ทำขนมที่ลอดรูหรือ ใช้รูดักสัตว์ จำนวน 5 ประเภท ในลำดับเท่ากันคิดเป็นร้อยละ 3.70 ภูมิปัญญาการใช้ชันจาก ครั่งและยางจากต้นไม้ ทาหรือเคลือบภาชนะ ป้องกันไม่ให้น้ำรั่วซึม จำนวน 4 ประเภท คิดเป็นร้อยละ 2.96 ภูมิปัญญาด้วยกลวิธีการใช้ไม้ใบลาน ใบตอง ใบจาก เพื่อบังลม บังฝน และ บังแสงแดด จำนวน 3 ประเภท และภูมิปัญญาด้วยกลวิธีการใช้ไม้กระบอกไม้ไผ่ เป็นรูปทรงต่าง ๆ เพื่อใส่เสื้อผ้า อาหารแห้ง ใส่ของมีค่า และเอกสารต่าง ๆ จำนวน 3 ประเภท ในลำดับเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 2.22
References
มติชน. (2547). พจนานุกรมฉบับมติชน. กรุงเทพฯ: มติชน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2558). พจนานุกรมหัตถกรรมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
สนม ครุฑเมือง. (2555). สารานุกรมของใช้พื้นบ้านไทยในอดีต (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ 1999.
_______ . (2559). การวิจัยทางภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สังคม สีวิไล. (2559, กรกฎาคม – ธันวาคม). ภูมิปัญญาพื้นบ้านเครื่องมือดักสัตว์เมืองปากงึ่ม นครหลวง เวียงจันทน์ ส.ป.ป.ลาว. วารสารคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 8(2), 108.
สารานุกรมสำหรับเยาวชนไทย โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 19. (2538). กรุงเทพฯ: โครงการสารานุกรมสำหรับเยาวชนไทย.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค : วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Khrutmuang, Sanom. (1987). Encyclopedia of Old Folk Utensils as Found in the Lower Northern Provinces of Thailand. In Commemoration of the Majesty King Bhumibol Adulyyadej the Great’s Fifth Cycle Birthday Anniversary. Bangkok: Amarin Printing Group.
Nida, Eugen A. (1975). A Componential Analysis of Meaning. Moutor : The Hague.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย