บทบรรณาธิการวารสารอักษราพิบูล ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2565)
บทคัดย่อ
วารสารอักษราพิบูล ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2565) ที่ท่านเห็นอยู่นี้เป็นวารสาร วิชาการของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม วารสารที่มีเนื้อหาด้านมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งสร้างเสริมความเข้มแข็งทางวิชาการสายมนุษยศาสตร์ซึ่งนับวันจะถูก “ลดทอน” และ “ละเลย” ความสำคัญและคุณค่าลงไปอย่างมาก โดยเนื้อหาของบทความที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลฉบับนี้มีความเข้มข้นทางวิชาการและประกอบไปด้วยผู้เขียนทั้งในและภายนอกสถาบันโดยบทความที่น่าสนใจ ดังนี้
บทความ เรื่อง การสำรวจโครงสร้างสำนวนจีนที่ใช้ในชีวิตประจำวัน โดย ปานดวงใจ บุญจนาวิโรจน์ บทความ เรื่อง จารึกศังกร : จุดเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติอินโดนีเซีย โดยอุเทน วงศ์สถิตย์ และดอกรัก พยัคศรี บทความ เรื่อง วัจนกรรมโควิด 19 ในสื่อออนไลน์ : ประเภทวัจนกรรมและความหมาย โดยณัฐณิชา ฝั้นคำสาย สุนิสา กัลเกตุ อรณัฐ ลุสนธิ อัญธิกา เผือกเนียม และสุชาดา เจียพงษ์ บทความ เรื่อง กลวิธีการใช้ภาษาในบทเพลงลูกทุ่งที่ขับร้องโดยศิลปินไม้เมือง โดยอรทัย สุขจ๊ะ และกุลธิดา ทองเนตรบทความ เรื่อง วิเคราะห์คำพังเพยชาวบ้านที่ปรากฏในบทเพลงฉ่อยของพ่อสุชิน ทวีเขตต์ โดยศราวุธ สุดงูเหลือม บทความ เรื่อง ผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายด้วยสื่อวีดิทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม โดยสุกัญญาโสภี ใจกล่ำ และณริศรา พฤกษะวัน บทความ เรื่อง The Effects Student - led Questioning on Student Confidence, Motivation, and Engagement Reading English-Language Short Fiction Texts in a Secondary School in the Lower North of Thailand โดยNipawan Navawatana and Kyle Kohler บทความ เรื่อง รูปแบบการเขียนข่าวนำแบบสรุปความภาษาอังกฤษจากข่าวสถานการณ์โควิด 19 ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่นออนไลน์ โดยอาภรณ์ชนิศ แสงสังข์ และณัฐกานต์ เส็งชื่น และบทปริทัศน์หนังสือ เรื่อง สวัสดีครับ คุณภรรยา : การแทรกแนวคิดผ่านนวนิยายแปลสมัยใหม่ของจีน โดยสุกัญญาโสภี ใจกล่ำ
บทความวิจัยและบทความวิชาการทั้งหมดล้วนผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสถาบันจำนวน 3 ท่านต่อบทความตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2564 ทำให้เนื้อหา ในวารสารอักษราพิบูลนี้เต็มไปด้วยความเข้มข้นทางวิชาการเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก
วารสารอักษราพิบูล ขอขอบพระคุณผู้เขียนและผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์ อันเป็นองค์ความรู้สำคัญที่ใช้ในการเรียนรู้ชีวิตมนุษย์ และขอเรียนเชิญผู้ที่สนใจและรักที่จะรังสรรค์ผลงานวิชาการในทางมนุษยศาสตร์ วารสารอักษราพิบูลขอเป็นหนึ่งในตัวเลือกของท่านที่จะรับผลงานด้านมนุษยศาสตร์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่สร้างสรรค์องค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์ให้กว้างขวางไปยิ่งขึ้นอีก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย