การศึกษาเชิงวิเคราะห์เอกสารต้นฉบับตำรายาแพทย์แผนไทย วัดกรับพวงเหนือ จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ตำรายาแพทย์แผนไทย, วัดกรับพวงเหนือ, พิษณุโลก, การศึกษาแพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร มุ่งศึกษาสารัตถะและความถี่ของเภสัชวัตถุในตำรายาแพทย์แผนไทยวัดกรับพวงเหนือ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า มีตำรับยาที่ใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น 485 ตำรับ สามารถจำแนกสารัตถะของตำรับยาตามกลุ่มอาการของโรค 5 อันดับแรก คือ 1) มีสรรพคุณแก้ไข้ ร้อนใน พบจำนวนทั้งสิ้น 111 ตำรับ 2) มีสรรพคุณรักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร พบจำนวนทั้งสิ้น 74 ตำรับ 3) มีสรรพคุณรักษากลุ่มอาการทางระบบผิวหนัง พบจำนวนทั้งสิ้น 63 ตำรับ 4) มีสรรพคุณรักษากลุ่มโรคสันนิบาต (โรครวม) พบจำนวนทั้งสิ้น 59 ตำรับ และ 5) มีสรรพคุณรักษากลุ่มซาง/ตานขโมย พบจำนวนทั้งสิ้น 52 ตำรับ พบพืชวัตถุจำนวนทั้งสิ้น 551 ชนิด โดยพบขิงมีความถี่สูงสุด พบสัตว์วัตถุจำนวนทั้งสิ้น 65 ชนิด โดยพบช้างมีความถี่สูงสุด พบธาตุวัตถุจำนวนทั้งสิ้น 44 ชนิด โดยพบเกลือทะเลมีความถี่สูงสุด และพบน้ำกระสายยาจำนวนทั้งสิ้น 79 ชนิด โดยพบน้ำมีความถี่สูงสุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของธรรมชาติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ ฉบับ พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองทุนภูมิ ปัญญาการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.
คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. (2556). บัญชียาหลักแห่งชาติ : บัญชียาจากสมุนไพร. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต และวิเชียร จีรวงส์. (2544). คำอธิบายตำราพระโอสถพระนารายณ์ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม 2542. กรุงเทพฯ:อมรินทร์และมูลนิธิภูมิปัญญา.
ชลิตา สอนจันทร์, ศิริวรรณ เพ็ชรมณี, อัจฉราภรณ์ ใจแก้ว และภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดสันติกาวาส อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุม วิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (น. 4020-4034). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ตำรายาแพทย์แผนไทยวัดกรับพวงเหนือ ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. (ม.ป.ป.). [สมุดข่อยเลขที่ พส.ข.0300 เอกสารจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
นันทรัตน์ ยอดกระโหม, สาวิตรี แก้วเกตุ และภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดกรับพวงเหนือ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (น. 4035-4048). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
บังอร ศรีพานิชกุลชัย. (2551). ขิงเพื่อสุขภาพ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน Isan Journal of Pharmaceutical Sciences, 4(1), 1-15.
พจนานุกรมศัพท์แพทย์และเภสัชกรรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2553). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์. (2542). ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
พระสุตตันตปิฎก วินัยปิฎก มหาวรรค เภสัชขันธกะ ปัญจเภสัชกถา. (2560). สืบค้นจาก https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=05&siri=7/
พอฤทัย ปัญญาจักร์, มณฑาทิพย์ บุญแก้ว และภัครพล แสงเงิน. (2564). สารัตถะในตำรายาวัดกรับพวงเหนือ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา วันที่ 28-29 มกราคม 2564 (น. 3645-3657). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ภัครพล แสงเงิน. (2562). การศึกษาเชิงวิเคราะห์ตำรายาวัดใหม่พรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ภัครพล แสงเงิน และอุเทน วงศ์สถิตย์. (2565). ตำรับยากวาดคอจากตำรายาแพทย์แผนไทยของอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วารสารไทยศึกษา, 18(1), 29-60.
วุฒิ วุฒิธรรมเวช. (2540). สารานุกรมสมุนไพรรวมหลักเภสัชกรรมไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์.
สมุนไพรดอทคอม. (2559). ช้าง-สัตว์วัตถุ. สืบค้นจาก https://www.samunpri.com/
สำเนียง เลื่อมใส. (2558). โรคและการเยียวยารักษาในคัมภีร์พุทธศาสนา. ใน ภูมิปัญญาอาเซียน เวชศาสตร์ในจารึ และเอกสารโบราณ ภาษา - จารึก ฉบับที่ 13 ในวาระ 96 ปี ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร (น. 39-60). กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย