รูปแบบจังหวะกลองโกร๊ก “เพลงไม้สี่” วงมังคละบ้านกองโค ตำบลกองโค อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • นพดล พันธุ์เพ็ชร์ Western Music program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Pibulsongkram Rajabhat University
  • กมลธรรม เกื้อบุตร Western Music program, Faculty of Humanities And Social Sciences, Pibulsongkram Rajabhat University
  • ณัฏฐนิช นักปี่ Department of Music, Faculty of Humanities, Naresuan University
  • ณัฐกาญจ์ ธรรมขันธ์ Ban Dong Dueai School
  • อวิรุทธ์ สระทอง Independent Scholar

คำสำคัญ:

มังคละ, กลองโกร๊ก, รูปแบบจังหวะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษารูปแบบจังหวะกลองโกร๊ก “เพลงไม้สี่” วงมังคละ บ้านกองโค ตำบลกองโค อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ   มีวิธีการดำเนินการวิจัย คือ การวางแผนงาน การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเอกสารและข้อมูลภาคสนามเพื่อวิเคราะห์รูปแบบจังหวะกลองโกร๊ก วิเคราะห์บทบาทหน้าที่ของวงดนตรีมังคละต่อพื้นที่ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า เพลงไม้สี่ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) ส่วนเกริ่นเพลง 2) ส่วนเริ่มเพลง 3) ส่วนตัวเพลง และ 4) ส่วนท้ายเพลง ซึ่งรูปแบบจังหวะกลองโกร๊ก มี 3 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบที่ 1 การตีจังหวะยก แล้วต่อด้วยการตีสลับมือ 3 ครั้ง ในสัดส่วนโน้ตเขบ็ต 2 ชั้นในส่วนท้าย รูปแบบที่ 2 การตีไม้สลับกัน 3 ครั้งแต่จบที่จังหวะยกในกลุ่มโน้ตนั้น รูปแบบที่ 3 การตีเป็นจังหวะยก แล้วสลับไปตีเป็นกลุ่มโน้ตด้วยสัดส่วนความถี่ของโน้ตให้ได้ 4 ครั้งให้จบในจังหวะยก ซึ่งทั้ง 3 รูปแบบเน้นจังหวะยกเป็นหลัก พัฒนาลักษณะจังหวะโดยเพิ่มโน้ต จาก 1 เป็น 3 และ 4 รูปแบบจังหวะกลองโกร๊กใช้ทั้ง 3 รูปแบบจังหวะมาบรรเลงซ้ำไปซ้ำมา ใช้ลูกเล่นซ้ำ ๆ ปรับส่วนของจังหวะเล็กน้อย แต่ไม่ซับซ้อนจนเกินไป เพื่อใช้บรรเลงในพิธีกรรมที่มีเวลานาน ซึ่งจะส่งผลให้นักดนตรีสามารถบรรเลงได้โดยไม่เหนื่อยและเมื่อยระหว่างการบรรเลงดนตรีมังคละ และจังหวะยกที่ไม่ซับซ้อนทำให้เห็นเอกลักษณ์ของรูปแบบกลองโกร๊ก วงมังคละ บ้านกองโค ว่ามี ความเรียบง่าย สนุกสนาน ไม่ยาก แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป แต่วงมังคละบ้านกองโคยังคงยึดถือความเรียบง่ายให้เอกลักษณ์ที่คงไว้สืบไป

References

ณัชชา โสคติยานุรักษ์. (2544). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

นพดล พันธุ์เพ็ชร์. (2566). โน้ตกลองโกร๊ก เพลงไม้สี่. สืบค้นจาก https://drive.google.com /file/d/18aaHA_G5-https://drive.google.com/file/d/18aaHA_G5-w0Dsybi1gvpqbXKy958tdkB/view?usp=share_link

ประทีป นักปี่. (2537). ดนตรีพื้นบ้านไทย. พิษณุโลก: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วีระพงษ์ แสง-ชูโต. (2552). แนวทางการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: โซตนาพริ้นท์.

สันติ ศิริคชพันธ์. (2540). วงมังคละในจังหวัดพิษณุโลก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2553). ทฤษฎีมานุษยวิทยา (ภาคสอง). กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชชิ่ง.

เสมียน เนื้อนุ้ย. (2563, 2 พฤษภาคม). การบรรเลงกลองโกร๊กของตำบลกองโค อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์. ผู้สัมภาษณ์: นพดล พันธุ์เพ็ชร์. บ้านกองโค ตำบลกองโค อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์.

เสรี พงศ์พิศ. (2551). แนวคิดแนวปฏิบัติ ยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-15