รูปแบบการเขียนข่าวนำแบบสรุปความภาษาอังกฤษจากข่าวสถานการณ์โควิด 19 ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่นออนไลน์

ผู้แต่ง

  • อาภรณ์ชนิศ แสงสังข์ สาขาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ณัฐกานต์ เส็งชื่น สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

ข่าวนำ, ข่าวนำแบบสรุปความ , ข่าวสถานการณ์โควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบและเปรียบเทียบความถี่ในการเขียนข่าวนำแบบสรุปความภาษาอังกฤษจากข่าวสถานการณ์โควิด 19 ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่นออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข่าวนำแบบสรุปความ (summary lead) ภาษาอังกฤษจากข่าวสถานการณ์โควิด 19 ของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่นออนไลน์ จำนวน 458 ข่าว โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) กรอบแนวคิดในการวิจัยคือ คือ รูปแบบการเขียนข่าวนำแบบสรุปความ (summary lead) ด้วยวิธี 5Ws1H ตามแนวคิดของ Harris and Johnson (1999) และ McKane (2014) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเขียนข่าวนำแบบสรุปความภาษาอังกฤษจากข่าวสถานการณ์ โควิด 19 ที่พบมากที่สุด คือ who lead หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ พบรูปแบบการเขียนข่าวนำด้วย who lead มากที่สุด จำนวน 164 ข่าวนำ คิดเป็นร้อยละ 56.16 รองลงมา คือ what lead จำนวน 66 ข่าวนำ คิดเป็นร้อยละ 22.6 และ พบ how lead น้อยที่สุด จำนวน 5 ข่าวนำ คิดเป็นร้อยละ 1.71 หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น พบรูปแบบการเขียนข่าวนำด้วย who lead มากที่สุดเช่นกัน จำนวน 77 ข่าวนำ คิดเป็นร้อยละ 46.39  รองลงมา คือ what lead จำนวน 43 ข่าวนำ คิดเป็นร้อยละ 25.96 และพบ why lead และ how lead น้อยที่สุด จำนวน 4 ข่าวนำ เท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 2.41 ตามลำดับ จากผลวิจัยแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการเขียนข่าวนำแบบสรุปความ (summary lead) นิยมเขียนขึ้นต้นด้วย who lead มากที่สุด โดยเป็นรูปแบบการเขียนเน้นที่บุคคลที่มีความรับผิดชอบหลักในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น            ในข่าวซึ่งเป็นรูปแบบการเขียนที่พบมากในหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษในโลกตะวันออก  (Qian, 2002)

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.mhesi.go.th/index.php/content_page/item/1301-covid-status-2020-03-31.html

กฤติยา คงสนุ่น. (2542). การสื่อข่าวและการรายงานข่าวเบื้องต้น. นครปฐม: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฎนครปฐม.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). การสร้างความเชื่อถือและการยอมรับสื่อออนไลน์. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/181957

เดวิด แรนดัล. (2559). คนข่าว ฉลาดทำงานศตวรรษ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ปุณณรัตน์ พิงคานนท์. (2548). การสื่อข่าวและการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศกร เมธีธรรม. (2560). ภาษาอังกฤษ มายาคติ อำนาจ และการครอบงำ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สิริวรรณ นันทจันทูล. (2543). การเขียนเพื่อการสื่อสาร 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). การสื่อข่าว: หลักการและเทคนิค. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือสถาบัน ราชภัฏสวนสุนันทา.

Ekeanyanwu, N. (2012). News Writing and Reporting. Retrieved from https:// bbcnoun.com.ng/courseware/MAC%20225.pdf

Harris, L. & Johnson. (1999). The Complete Reporter: Fundamentals of News Gathering, Writing, and Editing. Needham Height, MA 02494: A Pearson Education.

Mackane, A. (2014). News Writing. Dorchester: SAGE.

Qian, Z. (2002). A Corpus-Based Study on the Structure of American and Chinese News Leads from an Intercultural Perspective. (Master of Arts Dissertation, Huazhong University of Science and Technology).

Satini, R., Tatalia, R. & Rahmat, W. (2020). Content Analysis of News Completeness Elements Text for Students of SMP Negeri 24 Padang. Journal of Asian Studies: Culture, Language, Art and Communications, 1(1), 38-44. Retrieved from https://journal.haqipub.com/index.php/jas/article/view/5

Sonaike, S. A. (1987). Fundamentals of News Reporting. Lagos: John West.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-21