ผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลายด้วยสื่อวีดิทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
คำสำคัญ:
วีดิทัศน์ , ดีแอลทีวี , สังคมศึกษา , ศาสนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ด้วยสื่อวีดิทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม วิชาศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ต่อสื่อวีดิทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โรงเรียนวัดวังไฟไหม้ อำเภอราวต้นจันทน์ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) สื่อวีดิทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม รายวิชาศาสนา ศีลธรรม และจริยธรรม จำนวน 10 เรื่อง 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มีผลการเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนรู้ด้วยสื่อวีดิทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) โดยผลการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนถึง 7.28 คะแนน เดิมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน คือ 14.52 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมากขึ้นถึง 21.8 คะแนน เมื่อเทียบค่าเฉลี่ย ( = 14.52, 21.80) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 3.06, 3.03) และค่าสถิติทดสอบค่าที (T-Test = 17.24) พบว่า นักเรียนได้รับความรู้ที่เพิ่มขึ้นโดยคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ต่อสื่อวีดิทัศน์เทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) มีผลความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย () = 4.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) = 0.25 คิดเป็นร้อยละ 96.94 โดยมีค่าความพึงพอใจ ได้แก่ การใช้ภาพและการลำดับภาพ ขนาดของตัวอักษรที่ใช้ในวีดิทัศน์ เนื้อหาและภาษาที่ใช้ และวีดิทัศน์นี้ทำให้เกิดความเข้าใจต่อวิชาที่เรียนมากที่สุด ( = 5.00, S.D.= 0.00)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นจาก http://www.thaischool.in.th.
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV). (ม.ป.ป.).สืบค้นจาก http://www.dlthailand.com/kar-cadkar-suksa-thang-kil-phan-dawtheiym
ชุดาภัทร์ ยืนยง. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียนเชิงบูรณาการด้วยบทเพลงและภาพ เรื่องภูมิลักษณ์รักษ์วิถีภาคใต้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (รายงานผลการวิจัย). นครศรีธรรมราช: โรงเรียนเทศบาลวัดเสาธงทอง.
ยุทธ์ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพรม. (2553). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ศุทธนุช ผาสุข. (2558). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม: ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยาศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทยจำกัด.
อดิศักดิ์ โคตรชุม. (2562, กรกฎาคม - ธันวาคม). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การจัดและตกแต่งสวน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), 67 - 76.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย