สองทศวรรษแห่ง “ตุลาคม” : พลวัตแห่งความ (ไม่) เปลี่ยนแปลง

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก นัยจรัญ สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

บทคัดย่อ

“ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพที่จะประท้วงและเรียกร้องได้ โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น...”

          นิยาม ‘ประชาธิปไตย’ ข้างต้นนี้คงจะเป็นประชาธิปไตยในอุดมคติของใครหลาย ๆ คน หากแต่ว่า เมื่อข้อความนี้ถูกประกอบสร้างในตัวบทของเรื่องสั้น “ความตายในเดือนตุลา” กลับเคลือบแฝงไปด้วยนัยยะแห่งความเย้ยหยัน และกรีดลึกลงในจิตใจของผู้คน ...

          รวมเรื่องสั้นชุด ตุลาคม ของไพฑูรย์ ธัญญา มีความนุ่มนวลด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์ และลึกซึ้งด้านกระบวนความเชิงวิพากษ์สังคมหลากหลายแง่มุม ถึงแม้ว่าตุลาคมจะได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2537 แต่ด้วยความเป็นสากลของเนื้อหาและอาจจะด้วยบริบทความไม่เปลี่ยนแปลงของบางสิ่งบางอย่าง จึงทำให้รวมเรื่องสั้นชุดนี้ยังคงถูกตีพิมพ์ซ้ำอย่างต่อเนื่องกระทั่งปัจจุบัน ก็คงจะเหมือนกับเหตุการณ์และเรื่องราวบางประการในสังคมที่ยังคงถูกผลิตซ้ำ และมีท่าทีว่าจะ ‘ซ้ำแล้วซ้ำเล่า’ สวนทางกับการเป็นโลกแห่งความเปลี่ยนแปลง

References

ไพฑูรย์ ธัญญา. (2564). ตุลาคม (พิมพ์ครั้งที่ 5). ปทุมธานี: นาคร.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23

ฉบับ

บท

บทปริทัศน์หนังสือ