จารึกศังกร : จุดเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติอินโดนีเซีย

ผู้แต่ง

  • อุเทน วงศ์สถิตย์ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ดอกรัก พยัคศรี นักวิชาการ 5 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

คำสำคัญ:

ไศเลนทร์, ชวา, ฮินดู, พุทธศาสนา, ศังกร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของจารึกศังกร ประเทศอินโดนีเซียในฐานะที่เป็นจุดเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ชาติอินโดนีเซียยุคคลาสสิคในช่วงที่ราชวงศ์ไศเลนทร์ได้ปกครองพื้นที่ในเกาะชวา และมีความรุ่งเรืองจนสามารถสร้างมหาสถานที่ยิ่งใหญ่ อย่างบุโรพุทโธ มหาสถานพุทธศาสนานิกายมหายาน และปรัมบานันมหาสาถานศาสนาฮินดูไศวะนิกาย จารึกศังกรทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนผ่านการสนับสนุนทางศาสนาของพระเจ้าปณัมกรัณ จากศาสนาฮินดูไศวะนิกายอันเป็นศาสนาที่พระเจ้าสัญชยะ พระบิดาของพระองค์ได้นับถือมาแต่เดิมมาเป็นพุทธศาสนา นิกายมหายาน นอกจากนี้จารึกศังกรยังได้เชื่อมโยงจารึกที่สำคัญของอินโดนีเซียอีก 3 หลัก ได้แก่ จารึกโซโยเมอระโต ที่กล่าวถึง เสเลนทระ ตระกูลผู้ปกครองชวายุคแรกต้นตระกูลของราชวงศ์ไศเลนทร์ นับถือศาสนาฮินดู ไศวะนิกาย จารึกจังกัล ที่กล่าวถึง การสร้างศิวลึงค์บนภูเขาของพระเจ้าสัญชยะ และจารึกกาละสัน ที่กล่าวถึงการสร้างเทวาลัยแด่พระนางตารา พระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนา ซึ่งจารึกทั้ง 4 หลักนี้ก็ทำให้เห็นถึงความต่อเนื่องของสายตระกูลของราชวงศ์ไศเลนทร์ โดยไม่มีการแยกพระเจ้าศรีสัญชยะออกไปจากราชวงศ์ไศเลนทร์ แล้วไปตั้งราชวงศ์ของตนเองว่า ราชวงศ์สัญชยะ

References

Bambang, S. & Endang, H. (Eds.). (2008). Sejarah Nasional Indonesia (2nd ed.). Jakarta: Balai Pustaka.

Boechari. (1966). Preliminary Report on the Dicovery of an Old-Malay Inscription at Sodjomerto. Madjalah Ilmu-Ilmu Sastra Indonesia, 3(2-3), 241-251.

Boechari. (2012). Melacak Sejarah Kuno Indonesia Lewat Prasasti: Tracing Ancient Indonesian History Through Inscriptions. Jakarta: Kepustakaan Populer Gramedia (KPG).

Bosch, F. D. K. (1952). Sriwijaya, de Sailendrawamsa en de Sanjayawamsa.

Chedha, T. (2015). Candi Kalasan. Retrieved from https://db.sac.or.th/seaarts/en/detail.php?tb_id=180

Griffiths, A. (2021). The Sanskrit Inscription of Śaṅkara and Its Interpretation in the National History of Indonesia. Journal of the Humanities and Social Sciences of Southeast Asia, 177, 1-26.

Khatshima, K. (2021). Kalasan Inscription. Bangkok: Silpakorn University.

Zakharov, A. O. (2012). The Sailendras Reconsidered: Nalanda-Sriwijaya Centre Working Paper Series No. 12. Singapore: Institue of Southeast Asian Studies in Singapore.

จารึกศังกร ที่มา: อาโล กริฟฟิธส์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-21