การศึกษาความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเอง ของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • ยุดารัตน์ คำแก้ว
  • สุภิสร์สรา บุญชู
  • สำราญ มีแจ้ง มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ชยุดา เกิดเที่ยง

คำสำคัญ:

ความพร้อม , การเรียนรู้แบบพึ่งพาตนเอง , ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเองและเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเองของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร จำแนกตามเพศและสาขาวิชา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2564 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (f-test) ผลการวิจัยพบว่า ความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเองของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.64, S.D. = 0.62) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านคุณลักษณะของผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.35, S.D = 0.64) ด้านการบริหารการจัดการด้วยตนเองมีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลางเช่นกัน ( = 3.48, S.D = 0.62) และด้านการสืบค้นด้วยตนเองมีระดับความพร้อมสูง ( = 4.10, S.D = 0.66) เมื่อผู้วิจัยเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเองของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำแนกตามเพศ พบว่า นิสิตหญิงมีความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเองในแต่ละด้านไม่แตกต่างจากนิสิตชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเอง จำแนกตามสาขาวิชา พบว่า นิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และคณิตศาสตร์ มีความพร้อมแตกต่างกันในด้านคุณลักษณะของผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและด้านการสืบค้นด้วยตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษมีความพร้อมมากกว่านิสิตสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสาขาวิชาภาษาไทย แต่ความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเองในด้านการบริหารจัดการด้วยตนเองไม่แตกต่างกัน

References

ธนวัฒน์ อรุณสุขสว่าง และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558, พฤษภาคม). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 493 - 505.

นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2559). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม).

บุ๊คพลัส. (2563). ลักษณะนิสัยของกลุ่มคน Gen Z. สืบค้นจาก https://bookplus.co.th/ลักษณะนิสัยของกลุ่มคน-gen-z/

บุศรินทร์ ผัดวัง และสุภาภรณ์ อุดมลักษณ์. (2556, กรกฎาคม - ธันวาคม). ความพร้อมในการ เรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 23(21), 74-84.

มณี อาภานันทิกุล, รุจิเรศ ธนูรักษ์, และยุวดี ฦาชา. (2551, เมษายน). การพัฒนาเครื่องมือวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลไทยระดับปริญญาตรี. วารสารสภาการพยาบาล, 23(2), 52-69.

สลิลา วงศ์กระจ่าง, พัชราวดี อักษรพิมพ์ และอมรรัตน์ จิรันดร. (2562). การสำรวจความพร้อมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบพึ่งพาตนเองของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม” (น. 345-358). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Gould, J. H. (2013). Learner Autonomy. Retrieved from https://oupeltglobalblog.com/2013/01/29/learner-autonomy/

Plook Creator. (2017). จริงหรือไม่ที่ผู้ชายฉลาดกว่าผู้หญิง. สืบค้นจาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/62864/-scibio-sci-

Richards, C. J. (2013). Autonomous Learner. Retrieved from https://www.professorjackrichards.com/autonomous-learner/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-23