การศึกษาปัญหาและความต้องการของนักเรียนที่มีต่อห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี
คำสำคัญ:
ห้องสมุดโรงเรียน , โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี , บริการห้องสมุดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์และเพื่อศึกษาปัญหาของนักเรียนที่มีต่อห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี และเพื่อศึกษาความต้องการของนักเรียนที่มีต่อห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ในจังหวัดพิษณุโลก ปีการศึกษา 2563 จำนวนไม่น้อยกว่า 342 คน เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามปัญหาและความต้องการของนักเรียนที่มีต่อห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรีมีปัญหาการใช้ห้องสมุด โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ปัญหาด้านบุคลากรและปัญหาด้านอาคารสถานที่ อยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการของนักเรียนที่มีต่อห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี ด้านอาคารสถานที่ พบว่า ต้องการให้เพิ่มโซฟา ต้องการให้เพิ่มโต๊ะและเก้าอี้ ด้านทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ต้องการให้เพิ่มหนังสือที่หลากหลายและทันสมัย ด้านบริการ พบว่า ต้องการให้มีบริการ Netflix และด้านบุคลากร พบว่า ต้องการให้บุคลากรพูดจาสุภาพอ่อนโยน
References
กฤษณพงศ์ สุขสมบูรณ์ และคณะ. (2559). ความพึงพอใจต่อการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้บริการห้องสมุดของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
คณิศ แสงสุพรรณ. (2558). ห้องสมุดของอนาคต ปลดล็อกผ่านสู่ยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/life/healthy/383752
จิณณพัต ชื่นชมน้อย. (2556). ปัญหาและแรงจูงใจของนิสิตในการใช้บริการของ ห้องสมุดคณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เชิดชู กาฬวงศ์. (2545). ปัญหาคุณภาพห้องสมุดโรงเรียน. วารสารวิชาการ, 5(8). 55-56.
น้ำลิน เทียมแก้ว. (2561). การศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2560 (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นูรีดา จะปะกียา. (2561). ความต้องการสารสนเทศและแนวทางการพัฒนาการบริการสารสนเทศเชิงรุกสู่ชุมชนของห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานผลการวิจัย). ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ปภัสรา สามารถ. (2560). พฤติกรรมการอ่านนิยายภาพของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ประพิศ นพประชา. (2541). ปัญหาการใช้ห้องสมุดประชาชนของผู้ใช้บริการในจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ปรีชา อาษาวัง. (2558). ความพึงพอใจต่อการให้บริการของสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยนครพนม. PULINET Journal, 2(1), 8-15.
มะลิวัลย์ สินน้อย. (2561). การศึกษาความต้องการใช้บริการห้องสมุด สำนักวิทยบริการของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. PULINET Journal, 5(1), 93-102.
รุ่งทิพย์ ทองเงา. (ม.ป.ป.). ความสำคัญของห้องสมุด. สืบค้นจาก http://www.lkprungtip.com/2-.
วรรณรัตน์ บรรจงเขียน. (2554). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริการของห้องสมุดกลุ่มอุดมศึกษา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วัฒนชัย วินิจจะกูล. (2558). ห้องสมุดของอนาคต ปลดล็อกผ่านสู่ยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.posttoday.com/life/healthy/383752
สุนิษา ขันนุ้ย และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการไม่ใช้ห้องสมุดของนิสิตและบุคลากรและแนวทางส่งเสริม: กรณีศึกษาสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ, 8, 57-84.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). การใช้ ICT ของเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages.
อริศรา สิงห์ปัน และณรงณ์ ณรงค์ชัยปัญญา. (2558). การศึกษาสภาพการใช้ ปัญหาและความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศสำนักหอสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารอักษราพิบูลที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย