กระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่จากการประยุกต์ใช้ลวดลายที่เป็นอัตลักษณ์บน ผ้าทอพื้นบ้านของจังหวัดขอนแก่น : แบรนด์บ้านสบายจิตร

ผู้แต่ง

  • ธัญชนก หอมสวาสดิ์ สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ยุพดี ชินพีระเสถียร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การออกแบบผลิตภัณฑ์, ผ้าคลุมไหล่, การประยุกต์ใช้ลวดลาย, อัตลักษณ์บนผ้าทอพื้นบ้าน, แบรนด์บ้านสบายจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์ของลวดลาย บนผ้าทอพื้นบ้านของจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่จากอัตลักษณ์ ของลวดลายบนผ้าทอพื้นบ้านของจังหวัดขอนแก่น กลุ่มประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวน 45 คน จากผู้บริโภคเป้าหมาย และสมาชิกแบรนด์สบายจิตร ใช้การศึกษาเอกสาร การประชุม และการสนทนากลุ่มเป็นวิธีการและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตลักษณ์ของลวดลายบนผ้าทอพื้นบ้านของจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ลวดลายหมี่ดอกคูน ลวดลายแคน ลวดลายพานบายศรี ลวดลายหมี่บักจับ ลวดลายหมี่ขอ ลวดลายหมี่โคม ลวดลาย หมี่กง โดยผู้วิจัยนำมาสู่การออกแบบและพัฒนาเพื่อนำไปสู่การออกแบบลวดลายสำหรับการพิมพ์ ผ้า 2) กระบวนออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าคลุมไหล่แบรนด์สบายจิตร มีดังนี้ (1) การวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ ผ้าคลุมไหล่เดิม (2) การวิเคราะห์ปัจจัยและการค้นหาแนวทางการพัฒนา (3) การค้นหาอัตลักษณ์ ของลวดลายจากผ้าทอพื้นบ้านสำหรับการสร้างอัตลักษณ์ใหม่ (4) การออกแบบและการสร้างสรรค์ ลวดลาย (5) การทดสอบการพิมพ์ลวดลาย (6) การประเมินผลการออกแบบ

References

จิตติวัฒน์ นิธิกาญจนธาร. (2557). การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีเครื่องขึ้นฟืมเส้นด้ายสำหรับ กระบวนการทอผ้า. คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน(รายงานผลการวิจัย).

จิราพร เกิดแก้ว. (2558). การศึกษาผ้าชนิดต่าง ๆ ด้วยเทคนิค ATR-FTIR, TGA และ DSC เพื่อประโยชน์ทางนิติวิทยาศาสตร์. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์บัณฑิต วิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เจษฎาภรณ์ ชัยชนะ. (2555). ผลของชนิดเส้นใยและโครงสร้างการทอต่อความสามารถในการต้านทานการเจาะทะลุ. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เจษณี สมศิริ. (วันที่ 24 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2563) : สัมภาษณ์

ดลชัย บุณยรัตเวช. (2548). Design Wiz “ดีไซน์ให้คม”.กรุงเทพฯ: เนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป, หน้า 13-20.

ธัญพัชร ศรีมารัตน์. (2558). อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับกระบวนการกลายเป็นสินค้า กรณีศึกษา โรงแรมปิงนคราบูติก โฮเทล แอนด์ สปาเชียงใหม่. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสื่อ ศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปิยะนุช ไสยกิจ, เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง และนพคุณ นิศามณี. ศึกษาลวดลายกราฟิกบนผ้าไหมมัดหมี่ อำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่นเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์. ปีที่ 6 (ฉบับที่ 2), หน้า 148-160.

พีนาลิน สาริยา. (2549). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. วิภาภี สีลํากุลและรุ่งนภา กิตติลาภ. (2559,กรกฎาคม-ตุลาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน ของกลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ใน จังหวัดขอนแก่น. ธรรมทรรศน์. 16(2), หน้า 13-22.

Downloads