“แม่” กับธรรมชาติในวรรณกรรมยุคโลกาภิวัตน์ : มุมมองสตรีนิยมเชิงนิเวศ

ผู้แต่ง

  • อรรถ ดีที่สุด โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

สตรีนิยมเชิงนิเวศ, การโหยหาอดีต, ความเป็นอื่น, ความจริง, โลกาภิวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาการนำเสนอแง่มุมเกี่ยวกับ “แม่” ที่สัมพันธ์กับธรรมชาติในวรรณกรรม ยุคโลกาภิวัตน์ด้วยมุมมองสตรีนิยมเชิงนิเวศ ผลการศึกษาพบว่า มีการนำเสนอบทบาทผู้หญิง ในฐานะ “แม่” ผ่านเรื่องเล่าที่กล่าวย้อนถึงช่วงเวลาในอดีตเปรียบเทียบกับปัจจุบันที่สังคม เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อนำเสนอการโหยหาอดีตของคนในสังคมโลกาภิวัตน์โดยมีแม่และ ธรรมชาติอันสมบูรณ์ในชนบทเป็นตัวแทนของความสุขในอดีต นอกจากนี้ ยังนำเสนอความเป็นอื่น ของแม่และธรรมชาติในชนบทซึ่งถูกเบียดขับโดยกระแสโลกาภิวัตน์จากสังคมเมือง ตลอดจน นำเสนอความจริงอันพร่าเลือนในโลกปัจจุบันผ่านการที่แม่และธรรมชาติตกเป็นเหยื่อของ การประกอบสร้างเรื่องเล่าอันซับซ้อนในสังคมสมัยใหม่ นักเขียนมุ่งนำเสนอแง่มุมเหล่านี้เพื่อ กระตุ้นจิตสำนึกเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ ความกตัญญูต่อแม่ นิเวศสำนึก การทำความ เข้าใจและปรับตัวในโลกสมัยใหม่ โดยต้องไม่ไหลตามกระแสความเจริญทางวัตถุ ไม่ดูหมิ่นและ หลงลืมรากเหง้าของตน อีกทั้งมีวิจารณญาณในการสื่อสารท่ามกลางโลกที่ท้วมท้นด้วยข้อมูล ข่าวสาร

References

กฤตยา ณ หนองคาย. (2558). ประวัติศาสตร์บอกเล่าและการเมืองเรื่อง ‘พลเมือง’: การปรับตัว ของคนห้วยกบในบริบทสังคมไทยยุคโลกาภิวัตน์. ใน สรณัฐ ไตลังคะ (บ.ก.), ชุมชนความ ทรงจำและพิธีกรรมกับการจัดการชุมชน (น. 145-176). กรุงเทพฯ: ภาควิชาวรรณคดี และคณะกรรมการวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิรัฏฐ เฉลิมแสนยากร. (2558). รื้อสร้างภาพลักษณ์ตายตัว: กลวิธีการตอบโต้อาณานิคมสมัยใหม่ ในนวนิยายเรื่อง เจ้าการะเกด ของแดนอรัญ แสงทอง. วารสารศิลปศาสตร, 15(1), 1-17.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556 ก). ผู้หญิงยิงเรือ สตรีนิยมเชิงนิเวศในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: นาคร.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556 ข). วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย. กรุงเทพฯ: นาคร.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559). แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี: นาคร. ปิยะมาศ ใจไฝ่. (2560). แนวคิดอทวิลักษณ์ของสตรีนิยมเชิงนิเวศในล้านนา. วารสารปณิธาน, 13(2), 212-227.

รื่นฤทัย สัจจพันธ์. (2545). เมตาฟิกชันในงานเรื่องสั้นสมัยใหม่ของไทย. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 27(3), 842-847.

วรมาศ ธัญภัทรกุล. (2561). ผู้หญิง ธรรมชาติ และการหายไปของ “แม่” กับมุมมองสตรีนิยมสาย นิเวศในนวนิยายเรื่อง Solar Storm ของลินดา โฮแกน. วารสารมนุษยศาสตร์, 25(1), 79-103.

ศิริวร แก้วกาญจน์. (2556). ข่าวการหายไปของอาริญาและเรื่องราวอื่น ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ผจญภัย.

ศิวกานท์ ปทุมสูติ. (2554). สงกรานต์นี้แม่แกงเลียงมันนก...กินซิลูก. ใน กลุ่มเขียนข้าวมหาวิทยาลัย รามคำแหง และชมรมอาสาพัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (บ.ก.), กระซิบโลก... กล่อมดวงใจเจ้าไว้ในดวงตา (น. 15-17). กรุงเทพฯ: สันติศิริ.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2556). วรรณกรรมปัจจุบัน พ.ศ.2516 - 2553. ใน เอกสารประกอบการสอนชุด วิชาวรรณคดีไทย หน่วยที่ 1-7 (น. 1-51). (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

สรณัฐ ไตลังคะ. (2560). ศาสตร์และศิลป์แห่งการเล่าเรื่อง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

เสาวณิต จุลวงศ์. (2557). วงวรรณกรรมไทยในกระแสหลังสมัยใหม่ (จบ). สงขลานครินทร์ ฉบับ สังคมศาสตรและมนุษยศาสตร์, 20(1), 3-28.

อังคาร จันทาทิพย์. (2556). หัวใจห้องที่ห้า. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ผจญภัย. อุทิศ เหมะมูล. (2558). จุติ. กรุงเทพฯ: จุติ.

Downloads