ปัจจัยที่มีผลต่อนักศึกษาวิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่นในการเข้าใช้ สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ผู้แต่ง

  • ปนัดดา พลคล้าย สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • ภาณญาดา วงศ์งาม สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การเข้าใช้ห้องสมุด, การให้บริการห้องสมุด, การศึกษาผู้ใช้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าใช้สํานักวิทยบริการและ เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาวิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 329 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อผู้เรียน วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่นในการเข้าใช้สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏพิบูลสงคราม สถิติที่ใช้เป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อนักศึกษาวิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่นในการ เข้า ใช้สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยี จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากรผู้ให้บริการด้านสิ่ง อำนวยความสะดวก ด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม ด้านการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและด้าน ทรัพยากรสารสนเทศอยู่ในระดับมากทุกด้าน สภาพปัญหาในการเข้าใช้สํานักวิทยบริการและ เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ มุมรับประทานอาหารว่างและเครื่องเดิมมีน้อยเกินไปเครื่อง คอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน เจ้าหน้าที่บางคนขาดความกระตือรือร้นในการ ให้บริการและทรัพยากรสารสนเทศมีไม่หลากหลาย

References

กัลยา ตันจะโร และพิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์. (2555). การใช้สื่อสังคมเพื่อการประชาสัมพันธ์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัย. วารสารบรรณารักษศาสตร์, 32(2), น.41-55.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ห้องสมุดคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. (ม.ป.ป.). ระเบียบการใช้ ห้องสมุด. สืบค้นจาก https://library.cbs.chula.ac.th/?page_id=403

เจนจิรา สุขเพลีย. (2560). ปัญหาและความต้องการของนิสิตวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต่อการใช้บริการสารสนเทศภายในห้องสมุด. วารสาร การเมืองการปกครอง, 7(1), น.340-356.

ณัฎฐญา เผือกผ่อง ณัฏฐญา เผือกผ่อง, ดวงใจ กาญจนศิลป์ และขวัญแก้ว เทพวิชิต. (2559). ความต้องการและพฤติกรรมการใช้บริการศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาของนักศึกษา ต่างชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

น้ำลิน เทียมแก้ว. (2555). ความพึงพอใจต่อคุณภาพบริการห้องสมุดของนักวิชาการ สำนักวิทย บริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

เบญจมาภรณ์ สมุดอินแก้ว. (2543). ความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้ในการใช้บริการ หอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยอัญสัมชัญ. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย รามคำแหง.

ประไพพรรณ จารุทวี. (2545). การใช้บริการหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปิยะนุช สุจิต. (2553). ความพึงพอใจในการใช้ศูนย์วิทยบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, กองบริการนักศึกษา. (2561). รายชื่อนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา. สืบค้นจาก http://reg.psru.ac.th/reg2018/teacher.php

มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2558). เกี่ยวกับ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นจาก http://library.psru.ac.th/weblib/about-us.php

ศักดา บุญยืด. (2559). อนาคตภาพของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย ราชภัฏในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2558-2568). วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 9(2), น.1-16.

ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก ห้องสมุดวิทยาลัยทองสุข. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ของห้องสมุดวิทยาลัยทองสุข ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: พิษณุโลก.

สมมิตร สรรพอําไพ. (2541). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (รายงานผลการวิจัย). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุนิษา ขันนุ้ย ขวัญชนก วิริยกุลโอภาศ ผกาทิพย์ ชูชาติ บุญฤทธิ์ คงลำพูน ธมลวรรณ ขุนไพชิต เนาวลักษณ์ แสงสนิท นภดล ชัยศิริ และปิติมา แก้วเขียว. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการ ไม่ใช้ห้องสมุดของนิสิตและบุคลากรและแนวทางส่งเสริม : กรณีศึกษา สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยทักษิณ. (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ห้องสมุดวิทยาลัยทองสุข ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. (2555). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ของห้องสมุดวิทยาลัยทองสุข ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก. (รายงานผลการวิจัย). พิษณุโลก: วิทยาลัยทองสุข ศูนย์การศึกษาจังหวัดพิษณุโลก.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. 30 : pp.607-610.

Downloads