การพัฒนาการอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาจีนโดยใช้เกมบัตรคำพยัญชนะสำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดทุ่งสวน จังหวัดกำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • นุชจรีย์ สีแก้ว สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • จิรายุ วงษ์สุตา หมวดภาษาต่างประเทศ โรงเรียนวัชรวิทยา

คำสำคัญ:

การออกเสียงพยัญชนะภาษาจีน, การจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกม, บัตรคำศัพท์

บทคัดย่อ

จากการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาจีนพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล 2 วัดทุ่งสวน จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อศึกษารายละเอียดของการจัดการเรียนการสอนและนำข้อบกพร่องหรือ ปัญหาในชั้นเรียนมาพัฒนาหรือแก้ปัญหาในชั้นเรียน ซึ่งจากการจัดการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนในชั้นเรียนมีปัญหาในเรื่องของการออกเสียงพยัญชนะภาษาจีน เนื่องจากนักเรียนเริ่มต้น เรียนภาษาจีนระดับพื้นฐาน และตัวอักษรจีนนั้นไม่สามารถระบุคำอ่านได้อย่างแม่นยำ และยากต่อ การจดจำหรือออกเสียงให้ถูกต้องสำหรับชาวต่างชาติ ระบบเสียงพินอินนั้นจะช่วยให้ผู้เรียน สามารถรู้จักคำอ่านของอักษรจีนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ ยังเอื้อต่อการพิมพ์ในระบบคอมพิวเตอร์ อีกด้วย ทำให้ประสบปัญหาการออกเสียง ซึ่งการออกเสียงเป็นพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญสำหรับ การเรียนภาษาและการสื่อสาร ดังนั้นเพื่อพัฒนาการออกเสียงพยัญชนะภาษาจีนสำหรับนักเรียน ในชั้นเรียน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการพัฒนาการออก เสียงพยัญชนะภาษาจีนโดยใช้เกมบัตรคำพยัญชนะ และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การใช้เกมบัตรคำพยัญชนะ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียน เทศบาล 2 วัดทุ่งสวน จังหวัดกำแพงเพชร การวิจัยในครั้นนี้ใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมบัตรคำ พยัญชนะ และการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้ค่าสถิตคือ การหาค่าความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการ พัฒนาการอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาจีนโดยใช้เกมบัตรคำพยัญชนะสำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดทุ่งสวน จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า โดยภาพรวม นักเรียนส่วนใหญ่มีการพัฒนาการออกเสียงพยัญชนะภาษาจีน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยคิดเป็น ร้อยละ 81.75 2) ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อการใช้เกมบัตรคำพยัญชนะ พบว่า นักเรียน ทุกคนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนการพัฒนาการอ่านออกเสียงพยัญชนะภาษาจีน โดยใช้เกมบัตรคำพยัญชนะ โดยค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับ 4 คือ มีระดับความ พึงพอใจมาก สะท้อนให้เห็นว่า จากการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวนักเรียนมีการพัฒนาด้านการ ออกเสียงพยัญชนะภาษาจีนได้ดีขึ้น

References

จันทร์เพ็ญ สุภาแก้ว. (2549). การใช้เกมเพื่อเป็นกิจกรรมในการพัฒนาการเรียนรู้คำศัพท์ ภาษาอังกฤษของนักเรียนชาวเขาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนารีอนุสรณ์ 1 บ้านแม่ เมืองน้อย อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชรินี เดชจิดา. (2535). ความพึงพอใจของผู้ประกอบการต่อศูนย์กำจัดจากอุสาหกรรม แขวง แสนคำ เขตบางขุนเทียน.วิทยานิพนธ์ปริญญา สังคมศาตรมมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อม คณะสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชัยพร รูปน้อย. (2540). การจัดนันทนาการสำหรับกิจกรรมยุวกาชาด. เพรชรบุรี: ศูนย์พลศึกษา และกีฬาเพชรบุรี.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: PRO-TEXTS.

ณัฐฌา นามวงษ์. (2548). ผลการใช้เกมประกอบการสอนภาษาอังกฤษที่มีต่อความสามารถ ในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ทวีพงษ์ หินคำ. (2542). ความพึงพอใจของประชากรต่อการควบคุมการจราจรด้วยระบบ คอมพิวเตอร์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2547). การทำวิจัยในชั้นเรียน : สไตล์การเขียนรายงานแบบหน้าเดียว. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

ประนอม สุรัสวดี. (2535). กิจกรรมและสื่อการสอนวิชาภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผ่องพรรณ ศรีสมหวัง. (2549). ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแหล่งเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ต สาระเศรษฐศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2542). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น. พรรณ นาภา สิริมงคลสกุล. (2548). เรียนพินอิน และการออกเสียง (ฉบับสมบรูณ์ ). กรุงเทพมหานคร: เอ็มไอเอส ซอฟท์เทค.

เรืองเดช ปันเขื่อนขัติย์. (2547). ภาษาศาสตร์ ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วารินทร์ รัศมีพรหม. (2531). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องการลบจำนวนที่มีตัวตั้งไม่เกิน 20. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุจิตตรา แก้วโต. (2545). การศึกษาผลการใช้เกมการสะกดคำที่มีต่อความสามารถในการ เรียนสะกดคำวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ มหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์.

สุเทพ พานิชพันธุ์. (2541). ความพึงพอใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการปรับปรุงโครงสร้าง และระบบผลิตการเกษตร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2550). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาความรู้และทักษะ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ภาพิมพ์.

อุทัยพรรณ สุดใจ. (2545). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: ใยไหม ครีเอทีฟ กรุ๊ป.

Shi Lei. (2554). การออกแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาจีนสำหรับ นักเรียนไทยที่เรียนภาษาจีนเบื้องต้น. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต. สาขาเทคโนโลยี ทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์:มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads