Guideline for Learning Administration to Enhance Vocational Skills of Underprivileged Students at Sansalee Sri Wiang Network Development Center Attached to Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้ ฯ ประชากรที่ใช้ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูวิชาการ ครูผู้สอนวิชาการงาน ฯ ในศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพสันสลีศรีเวียง จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม 2) ศึกษาแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ ฯ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสัมภาษณ์ และ3) การตรวจสอบแนวทางการการบริหารการจัดการเรียนรู้ ฯ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้คือ ประชากรในขั้นตอนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบตรวจสอบแนวทาง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่าสภาพการบริหารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีการบริหารมากที่สุด คือ ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ แนวทางการบริหาร คือ ควรจัดประชุมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ โดยมีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนที่ถูกต้องและชัดเจนเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาวิชาชีพครูในรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ วางแผนจัดทำโครงการ/กิจกรรม สื่อและเทคโนโลยีที่ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา ผลการตรวจสอบแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะอาชีพ ฯ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.