Development of a Model to Enhance Work Motivation for Teachers in Medium-Sized Schools under the Jurisdiction of Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1

Main Article Content

Chaitawat Kedju
Rhoamrumpha Natthunatiruj
Choomsak Intarak

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) ออกแบบและสร้างรูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจ 3) ประเมินรูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจ 4) เปรียบเทียบผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจระหว่างก่อนและหลังการทดลอง และ 5) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านคุณค่า ประชากร ได้แก่ โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 68 โรง สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน (Krejci & Morgan) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 59 โรง และผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาการเสริมสร้างแรงจูงใจ โรงเรียนละ 2 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคคล รวมทั้งสิ้น 118 คน ใช้โรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยมเป็นโรงเรียนปฏิบัติการทดลอง กลุ่มทดลองจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินแบบสอบถามความคิดเห็น รูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจ แบบประเมินรูปแบบ แผนปฏิบัติการทดลอง
แบบประเมินก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบ และแบบประเมินด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านคุณค่า หาคุณภาพของเครื่องมือโดยค่าความตรงเชิงเนื้อหาด้วยค่า IOC มีค่าอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความคิดเห็นด้วยวิธีการของครอนบาค (Cronbach's method) มีค่าความเชื่อมั่น .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า
การยกย่องหรือให้รางวัลหรือประกาศนียบัตรเมื่อครูมีผลงานหรือผลการปฏิบัติงานประสบความสำเร็จหรือดีเด่น มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับบุคลากรในโรงเรียน มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับนักเรียน และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของโรงเรียน อยู่ในระดับปานกลาง 2) รูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ AA-RR-IE Model ประกอบด้วย การตระหนักคุณค่าในตัวเอง การมอบหมายงาน การเสริมแรง การสร้างความสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมกับองค์กร และการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม 3) ผลการประเมินรูปแบบมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 4) ผลการเปรียบเทียบผลการทดลอง พบว่าหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) ผลการใช้รูปแบบด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านคุณค่า อยู่ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ: 1. รูปแบบการเสริมสร้างแรงจูงใจ 2. การปฏิบัติงานของครู 3. โรงเรียนขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Ministry of Education. (2022). Policy and focus of the Ministry of Education, fiscal year 2022.

Kanyu Petcharaporn. (2020). Learning theory. Unpublished document, Faculty of Education, Suan Sunandha University, Bangkok, Thailand.

Kiattipong Udomthanateera. (2022). BA Participative Management (The Participative Management). Retrieved 5 September 2023, from https://www.iok2u.com/article/business-administrator/ba - the-participative-management

Thanettri Rattanaruangyot. (2021). How are efficiency and effectiveness different - what are the KPIs? Retrieved on 12 September 2023, from https://thaiwinner.com/efficiency-effectiveness/

Niraphai Chansawat. (2019). Efficiency (Efficiency) VS Effectiveness (Effectiveness). Retrieved 6 August 2023, from https://th.linkedin.com/pulse/efficiency-efficiency-vs-effective- effectiveness-niraphai-jansawat

Patiphan Hetrakul. (2018). Motivation model for teachers' work performance in private kindergartens in Bangkok. (Doctoral degree thesis). University of Phayao, Phayao.

Pattana Thongkam. (2019). How do 4.0 teachers increase their potential? Retrieved on 27 August 2023, from https://www.phatthalung1.go.th/teachers-4-0-enhance their potential/

Rattana Buasan. (2020). Research and development of educational innovation (2). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Wachirawat Ngamlamom. (2015). Concept of efficiency theory. Retrieved 12 September 2023, from http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_51.html

Wanchai Pracharuangwit. (2013, 21 July). The word Value, which means "value". [Facebook post]. Retrieved on 6 August 2023, from https://web.facebook.com/coachwanchai/posts/570773702980427/

Wassana Muangnam. (2017). Model for enhancing motivation for effective work performance of civil servant teachers under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office, Area 11. Journal of Educational Research, Faculty of Education, Srinakharinwirot University, 11(2), 136.

Sawet Simpraditpan. (2017). A study of teachers' work motivation in schools under the office Surat Thani Primary Educational Service Area 1. (Master's Thesis). Surat Thani Rajabhat University, Surat Thani.

Healthcare Quality Accreditation Institute (Public Organization) (Public Organization). (2018). 19th HA National Forum

Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office, Area 1. (2022). Retrieved on 24 July 2023, from https://sites.google.com/esanpt1.go.th/online-train/

Office of the Secretariat of the Education Council. (2019, 7 September). Important problems of teacher professional development today. [Facebook]. Retrieved on 24 July 2023 from https://www.facebook.com/TEPThaiEDU/photos/a.514488165619031/873888976345613/?type=3

Suwanee Ritthaprom, Urasa Promtha and Worawan Ubonlert (2014). A study of teachers' performance motivation in schools under the Maha Sarakham Provincial Administrative Organization. M.M. (Humanities and Social Sciences), 8(1), 181.

Nuengruthai Saimek and Thatchai Jitnan. (2020). Development of guidelines for enhancing motivation in the work of teachers under the Yasothon Primary Educational Service Area Office, District 1. Mahachulana Nakornrat, 7(7), 332.

Aranya Chawalit and team. (2020). Find your own value and the value of others. Retrieved 12 September 2023, from http://wachira.ppho.go.th/web_wachira/knowledge_file/20200908101129_16.pdf

Anas Rungwittayaphan and Chaowani Kaewmano. (2017). Guidelines for enhancing motivation in the work of civil servant teachers in small schools. Under the Songkhla Primary Educational Service Area Office, Area 1. Hat Yai National and International Academic Conference, (13), 1628-1629.

Alderfer, C. P. (1972). Existence relatedness and growth. New York: Free.

Herzberg, F. (1967). The motivation of work (2nd ed.). New York: John Wiley.

Irwandy. (2013). Assessing the Role of Motivation on Teacher Performance: Case Study in Indonesia. International Journal of Education & Literacy Studies, 2(2), pp. 90-95.

McCelland, D. C. (1962). Business drive and national achievement. Boston: Harvard Business School.

McGregor, D. (1960). The Human side of Enterprise. New York: McGraw-Hill.

Orina, J. Kiumi, J. and Githae, P. (2021). Determinants of teachers’ motivation and professional development in public secondary schools in Kenya. International Journal of Educational Administration and Policy Studies, 14(1), pp. 46-52.

Ponnock, A. Torsney, B. and Lombardi, D. (2018). Motivational Differences Throughout Teachers’ Preparation and Career. New Waves Educational Research & Development, 21(2), pp. 26-45.

Vroom, H. H. (1964). Working and motivation. New York: John Willy and Sons.