การประยุกต์ใช้กระบวนการดีไซน์สปรินท์ (Design Sprint) ร่วมกับกิจกรรมการสอนรายวิชา คอมพิวเตอร์เพื่องานทัศนศิลป์ เพื่อพัฒนาความคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษาศิลปศึกษาชั้น ปีที่ 1

Main Article Content

Pisit Tangpondparsert

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการประยุกต์ใช้กระบวนการดีไซน์สปรินท์ (Design Sprint) ร่วมกับกิจกรรมการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานทัศนศิลป์ เพื่อพัฒนาความคิดเชิงออกแบบให้กับนักศึกษาศิลปศึกษาชั้น ปีที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อสร้างนวัตกรรมรูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์เพื่องานทัศนศิลป์ ด้วยรูปแบบกระบวนการ ดีไซน์สปรินท์ 2) เพื่อประเมินผลการทดลองใช้รูปแบบกระบวนการ ดีไซน์สปรินท์ กับผู้เรียนในรายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานทัศนศิลป์ 3 ด้าน คือ ด้านความรู้หลักการออกแบบ, ด้านทักษะการสื่อสาร (Design Brief), ด้านทักษะการสร้างสรรค์ผลงานออกแบบ


            ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 2/2562 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้ 2) แบบประเมินทักษะการสื่อสาร (Design Brief) 3) แบบประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ผลงานออกแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC). ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย (X-Bar), ค่าความยาก (p) และ ค่าอำนาจจำแนก (r)


              ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ประเมินความรู้หลักการออกแบบ ด้วยแบบประเมินแบบทดสอบปรนัย ผลรวมการทดสอบความรู้ได้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ 74.83 (เกณฑ์การประเมินร้อยละ 70 = ผ่าน) สรุปผลอยู่ในเกณฑ์ผ่าน 2) แบบประเมินทักษะด้านทักษะการสื่อสาร (Design Brief) เกณฑ์การให้คะแนนแบบ Score Rubric โดยจัดกลุ่มผู้เรียนเป็น 4 กลุ่ม สรุปได้คะแนนรวมทั้ง 4 กลุ่ม ค่าเฉลี่ย = 18.75 คะแนน หมายถึง ดีมาก และ 3) แบบประเมินด้านความคิดสร้างสรรค์ผลงานออกแบบ เกณฑ์การให้คะแนน Score Rubric โดยจัดกลุ่มผู้เรียนเป็น 4 กลุ่ม สรุปได้คะแนนรวมทั้ง 4 กลุ่ม ค่าเฉลี่ย = 18 คะแนน หมายถึง ดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

Cotactic Strategist. (2020). Design Brief What Brand Owners Need to Know Before Working.
[Online]. Retrieved August 10, 2020, from https://www.cotactic.com/design-brief-cotactic/
Faculty of Education and Faculty of Arts, Silpakorn University. (2019). "Details of the Program (Programme Specification) Bachelor of Education Program in Arts (4 years).
Nakhon Pathom: Copy document. (In Thai)
Koranekij, P. and Khlaisans, J. (2015). "Development of Learning Qutcome Based E-Portfolio Model Emphasizing on Cognitive Skills in Pedagogical Blended E-Learning Environment for Undergraduate Students at Faculty of Education, Chulalongkorn University". Procedia-Social and Behavioral Sciences. (In Thai)
Lewrick, M., Link, P. and Leifer, L. (2020). Translated from Design thinking guide. by Winyu Kinghiranwattana. Bangkok: Move Publish. (In Thai)
Ministry of Education. (2016). Education Development Plan of the Ministry of Education No. 12 (2017 - 2021). Bangkok: Office of Policy and Strategy of the Ministry of Education Office, Ministry of Education. (In Thai)
Napps, J., Zeratsky, J. and Kowite, B., (2017). Translated from Create any idea that will be edient to customers in 5 days. by Papapol Tangchakwaranon. Bangkok: Publishers.
(In Thai)
Notjiam. (2017). Experience making Design Sprint. [Online]. Retrieved September 5, 2019, from https://notjiam.com/design-sprint-cec0e450dbe4
Office of the Education Council. (2017). "National Education Plan 2017–2036". Bangkok: Prigwhan Graphic. (In Thai)
Puangchampa, J., (2519). Teaching and learning along the lines Constructivism. [Online]. Retrieved. January 8, 2020, from https://blog.nsru.ac.th/60111806048/4124
Ritjaroon, P. (2009). “The principles of measuring and evaluating the study.” 5th Print.
Bangkok: House of Kermis. (In Thai)
Ruchaipanich, V. (2013). Creative teaching as a base. [Online]. Retrieved December 1, 2018, from http://www.jsfutureclassroom.com/cbl.html
Sompong, A. and Lodawan Malithai, L. (2019). The study of teaching and learning by creative teaching methods is based on the subjects of the study of historical documents and evidence. Faculty of Education, Rajabhat University Sakon Nakhon. (In Thai)
Stout, J. (2019). The Graphic Design Process: How to be successful in design school.
New York: Bloomsbury Visual Arts.
Thammawongsa, B. (2018). In the classroom, 'creativity' is measured and does not require an average score or grade. Journal of 21st Century skills. 28 (11) [Online]. Retrieved September 12, 2020, from https://thepotential.org/knowledge/creativity-assessment/
Timsi, K. (2019). “Creative development and academic achievement using creative teaching as a base (CBL) of 1st grade students.” Ruangwit Phitthayakhom School, Secondary Education Area Office, District 41, Kamphaengphet Province. (In Thai)