การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ รายวิชาหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู

Main Article Content

กิตติคม คาวีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning รายวิชาหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 1หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน  60 คนซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบทดสอบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)