การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

Pipat Sunthonphatthanakun

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
เอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเอง 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอส
ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเอง 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับเกณฑ์ร้อยละ 70 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ
เอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 6 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัดนครปฐม ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่มด้วยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนจากทั้งหมด 6 ห้องเรียน ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยก่อนการทดลอง
(Pre – Experimental Design) แบบ One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ของตนเอง แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาคณิตศาสตร์แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอสร่วมกับ
การประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test ค่าเฉลี่ยของเลขคณิต
_____________________________                                                


* นิสิตหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน


** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้
โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเอง หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์
ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเอง
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน
ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเอง
หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบเอสเอสซีเอส ร่วมกับการประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเอง
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ภาษาไทย
Yuvanatemiya, A. (2017). kānprīapthīap phatthanākān thaksa kān kǣ panhā thāng khanittasāt læ phatthanākān kānraprū khwāmsāmāt khō̜ng tonʻēng thāng khanittasāt khō̜ng nakrīan matthayommasưksā tō̜n ton thī chai withīkān pramœ̄n tonʻēng tāng kan : withīkān rū brik ʻǣnnōthēt prayuk læ bǣpsō̜pthām plāi pœ̄t [Comparison of Mathematics Problem Solving Skill Development and Mathematics Self-Efficacy Development of Lower Secondary School Students Using Different Self Assessment Methods: Applied Annotated Rubric and Open- Ended Questionnaire] (Master’s Thesis Chulalongkorn University).

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2018, August 2). khūmư̄ kānchai laksūt klum sāra kān rīanrū khanittasāt ( chabap prapprung Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip ) radap matthayommasưksā tō̜n plāi [Course Manual Learning Math (Revised edition B.E. 2560) High School Level] Retrieved from https://1th.me/EFhnS.
Tanyarattanasrisakul, M. (2014). phonkān čhatkān rīanrū dūai rūpbǣp SSCSE thī mī tō̜ thaksa kān kǣ panhā læ phon samrit thāngkān rīanrū wichā khanittasāt rư̄ang sathiti samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thī 6 [The effect of learning provision by SSCSE Model on problem solving skills and mathematics achievement application of statistics for Mathayomsuksa 6 students] (Master’s Thesis Silpakorn University).
Promkaew, O. (2009). kānčhat kitčhakam kān rīan kānsō̜n phư̄a songsœ̄m thaksa krabūankān kān kǣ panhā læ kānhai hētphon thāng khanittasāt samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sō̜ng rōngrīan san pā tō̜ng witthayākhom čhangwat Chīang Mai [Provision of Instructional activities to promote mathematical problem solving and reasoning process skills for mathayomsuksa 2 students atSanpatongwittayakom School, Chiang Mai Province] (Master’s Thesis Chiang Mai University).
Office of the Basic Education Commission. (2017). tūa chī wat læ sāra kān rīanrū kǣn klāng klum sāra kān rīanrū khanittasāt ( chabap prapprung Phō̜.Sō̜. sō̜ngphanhārō̜ihoksip ) tām laksūt kǣn klāng kānsưksā naphư̄n thān Phutthasakkarāt sō̜ngphanhārō̜ihāsipʻet [Indicators and Core Content Mathematics Learning Substance Group (revised version B.E 2560) according to the Core Curriculum of Basic Education, B.E 2551]. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited.
Office of the Education Council. (2017). phǣnkān sưksā hǣngchāt พ.ศ sō̜ngphanhārō̜ihoksip - sō̜ngphanhārō̜ičhetsipkāo [The National education plan B.E. 2560-2579]. Bangkok: Prik Hwan Graphic.
Khammani, T. (2009). sāt kānsō̜n : ʻongkhwāmrū phư̄a kānčhat krabūankān rīanrū thī mī prasitthiphāp [Teaching Science: Knowledge for Effective Learning Process Management]. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Aomsin, S. (2010). kānphatthanā chut kitčhakam dūai withīkān sō̜n bǣp SSCS rư̄ang samakān kamlang sō̜ng tūaprǣ dīeo samrap nakrīan chan matthayommasưksā pī thī 4 [The Development of Instructional Package Through The SSCS Method on Topics of The Algebraic Equation is Twoing One Variable for Matthayomsuksa 4 Students]
(Master’s Thesis Naresuan University).
Tapchim, S. (1998). kānprīapthīap phon khō̜ng kānhai kham prưksā pen klum læ rāi bukkhon bǣp phachœ̄n khwām čhing thī mī tō̜yut withīkān rīan khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sām rōngrīan kunnatharu thathārām witthayākhom Krung Thēp Mahā Nakhō̜n [A Comparison of The Effects of Group and Individual Counseling Based on Reality Therapy on Learning Strategies of Mathayom Suksa III Students of Kunnateerutharamwittayakom School in Bangkok] (Master’s Thesis Srinakharinwirot University).
Thipkong, S. (2001). kān kǣ panhā khanittasāt [Problem Solving]. Bangkok: Book Development Center, Department of Academic Affairs, Ministry of Education.
Samaiyoo, S, (2011). phonkān rīanrū rūpbǣp SSCS thī mī tō̜ khwāmsāmāt nai kān kǣ panhā læ kān sư̄sān thāng khanittasāt læ kānsư̄sān thāng khanittasāt khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sō̜ng rư̄ang kān prayuk khō̜ng samakān chœ̄ng sēn tūaprǣ dīeo [The Effects of Organizing SSCS Model on Mathematical Problem Solving and Communication Abilities of Mathayomsuksa II Students on “The Application of Linear Equations in One Variable”] (Master’s Thesis Srinakharinwirot University).
Sirirungrueang, S. (2011). phonkān čhat kitčhakam kān rīanrū dōi chai rūpbǣp SSCS thī mī tō̜ khwāmsāmāt nai kān rīan khanittasāt rư̄ang kān prayuk khō̜ng samakān chœ̄ng sēn tūaprǣ dīeo khō̜ng nakrīan chan matthayommasưksā pī thī sō̜ng rōngrīan bēnčhama thēp ʻuthit čhangwat phet burī [Effects of Learning Activities by Using SSCS Model on Ability in Learning Mathematics on Application of Linear Equations with One Variable of Mathayomsuksa II Students at Banchamatheputhit Changwat Phetchaburi School] (Master’s Thesis Kasetsart University).
ภาษาต่างประเทศ
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. New York: David McKay Company.
Chiappetta, E. L., & Russell, J. M. (1982). “The Relationship among Logical Thinking, Problem Solving Instruction, and Knowledge and Application on Earth Science Subject Matter”. Science Education 66(1): 85-93.
Egodawatte, G. (2010). “A Rubric to Self-Assess and Peer-Assess Mathematical Problem Solving Tasks of College Students”. Acta Didactica Napocensia 3(1): 75-88.
Hammonds, B. (2013). The Effects of Peer and Self-Assessment in a Middle School Mathematics Classroom. Master of Education Thesis Program in Mathematics Education Graduate School Ohio University.
Johnson, Ahlgren, Blout & Petit. (1981). Scientific reasoning: Garden paths and blind alleys. New Questions: New Direction.
Marra, S.E. (1997). An Exploration of Critical Thinking Learning Style Locus of Control and Environmental Perception Baccalaureate Nursing Student. Ph. D. Dissertation Graduate School West Virginia University.
Pizzini, E. L., Shepardson and Abell, S.K. (1989). “A Rationale for and the Development of a Problem Solving Model of Instruction in Science Education”. Science Education 73(5): 523- 534.
Sternberg, R. J. (1986). Critical Thinking: Its Nature, Measurement, and Improvement. [Online]. Retrieved August 2, 2018, from https://1th.me/9yca4.