การศึกษาผลกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมกับการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหนองสองห้อง (สายชนูปถัมภ์)สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร

Main Article Content

จิราภรณ์ ภูอุดม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


                   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์1.)เพื่อสร้างโปรแกรมกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมกับการพัฒนาทักษะชีวิตและ 2) เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมกับการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหนองสองห้อง (สายชนูปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหนองสองห้อง (สายชนูปถัมภ์) สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 25 คนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทักษะชีวิต จำนวน 2 คน ผู้ปกครองของนักเรียน 2 คน ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองสองห้อง (สายชนูปถัมภ์) จำนวน 1 คน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 คน ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  3  คนรวม 10  คน โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โปรแกรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมกับการพัฒนาทักษะชีวิต นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครและ แบบประเมินตนเองด้านความสามารถ   การใช้ทักษะชีวิต จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test For dependent Samples)


                   ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมกับการพัฒนาทักษะชีวิต นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาครสมุทรสาคร เป็นการนำนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนดองค์ประกอบทักษะชีวิตสำคัญที่จะเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับเด็กในสภาพสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและ เตรียมความพร้อมสำหรับการปรับตัวของผู้เรียน เรียบเรียงลำดับความสำคัญสร้างสรรค์กิจกรรมเนื้อหาและเวลาเพื่อให้เหมาะสมใน 4 องค์ประกอบดังนี้1) ด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น 2) ด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น 3) ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียดและ 4) ด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  และผลของกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมกับการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดหนองสองห้อง (สายชนูปถัมภ์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยรวม พบว่า มีผลการพัฒนาอยู่ ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ด้านการคิดวิเคราะห์ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด และด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น มีความสามารถในการใช้ทักษะชีวิตอยู่ในระดับดีทุกด้าน โปรแกรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมกับการพัฒนาทักษะชีวิตก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ทำให้ประชากรมีระดับความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


 


คำสำคัญ: นันทนาการแบบมีส่วนร่วม ทักษะชีวิต นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6


 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ภาษาไทย

Department of Health, Ministry of Public Health..(2016). Teaching life skills with participatory learning. Prachuap Khiri Khan: Hua Hin Grand Hotel.
กรมอนามัย, กระทรวงสาธารณสุข. (2539). การสอนทักษะชีวิตด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม.ประจวบคีรีขันธ์: โรงแรมหัวหินแกรนด์.
Ministry of Education.(2011). Enhancing "life skills" According to the focus of quality development for primary-secondary learners. Bangkok: Printing Agriculture Cooperatives of Thailand.
กระทรวงศึกษาธิการ(2554). การเสริมสร้าง “ทักษะชีวิต” ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระดับประถมศึกษา–มัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
Kheovichai, K., and Sangwattanakul, W. (2015). The development of a participatory recreation model with the community by using museums and local learning resources To promote creative learning. Educational Research Journal.
คณิต เขียววิชัย และวรรณภา แสงวัฒนะกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมนันทนาการแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนโดยใช้พิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์: วารสารศิลปากร
Si Saat, B. (2011). Preliminary research (Revised version). 9th ed. Bangkok: Suviriyasarn.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ:
สุวีริยาสาส์น.
Taweerat, P.(1997). Behavioral and social science research methods. 7th ed. Bangkok:
Educational and Psychological Test Bureau, Srinakharinwirot University.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพฯ: สำนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
Wongphiromsant, Y.(2011). Principles and methods of life skills teaching. Bangkok: Education Service Division. Journal of Fine Arts, Research Studies 2 (2).
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2545). หลักและวิธีการสอนทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ: กองบริการการศึกษา.
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 2(2).
Kitwongsakorn, R. (2014). A study of life skills development for student in prathom 6 of
Bangjak(komolprasertuthit)school, Thesis. College Silpakorn University. Photocopying
รมณภัทร กตตน์วงศกร. (2557). การศึกษาผลการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนบางจาก (โกมลประเสริฐอุทิศ). วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
Academic Office and Educational Standards. Office of the Basic Education Commission Ministry of Education.(2011). Guidelines for developing life skills Integrated teaching and learning 8 groups of learning Basic Education Core Curriculum, 2008. Bangkok: Printing Agriculture Cooperatives of Thailand.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. ( 2554). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิต บูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ จำกัด.


ภาษาต่างประเทศ
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. New Delhi:Wiley Eastern.
Nelson-Jones, Richard. (1998). Life skills Helping: A Textbook of Practical.
Sliegler, Michael D.; & Guevremont, David C. (1998). Contemporary Behavior Therapy.
3rd ed. New York: Brooks/Cole.
World Health Organization. (1994). Life Skills Education for Children and Adolescents in Schools. Programmer on Mental Health. Geneva. Retrieved August 15, 2005, from http://www.unescap/org/esid/hds/pubs/2317/m7.pdf