การประเมินความต้องการจำเป็นของครูด้านความรู้และการสนับสนุนทางสังคมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเฉพาะความพิการและโรงเรียนเรียนรวมในเขตภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

เจนจิรา เจนจิตรวาณิช

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการของครูด้านความรู้และความต้องการของครูเกี่ยวกับการสนับสนุนทางสังคมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนเฉพาะความพิการและโรงเรียนเรียนรวม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ครูที่มีประสบการณ์ในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนเฉพาะความพิการและโรงเรียนเรียนรวมในเขตภาคกลาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 171 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของครูด้านความความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (MEAN=4.28, S.D.= 0.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการความรู้ด้านจิตวิทยาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (MEAN=4.46, S.D.= 0.81) มากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นของครูด้านการสนับสนุนทางสังคม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการจำเป็นด้านการสนับสนุนทางสังคมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (MEAN=4.00, S.D.= 0.67) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการการสนับสนุนทางสังคมด้านการสนับสนุนทางอารมณ์มากที่สุด (MEAN=4.14 , S.D.=0.54)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรองทอง จุลิรัชนีกร. (2556). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเรียนรวมระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล. ดุษฎีนิพนธ์การบริหารการศึกษาพิเศษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ขนิษฐา เทวิทรภักติ. (2540). แผ้วถางทางการฟื้นฟูสมรรถภาพ:สวัสดิการสังคมสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของคนพิการ. กรุงเทพฯ: กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.
ชวนพิศ บุญพา. (2559). การรับรู้การสนับสนุนทางสังคมในที่ทำงานของครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารหารศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 126 ตอนพิเศษ 80 ง. 8 มิถุนายน 2552.
ศิราภรณ์ สุขศีลล้ำเลิศ. (2550). คุณลักษณะความทันสมัยและการสนับสนุนทางสังคมที่สัมพันธ์กับความสามารถในการเป็นครู ยุคปฏิรูปการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
ศรียา นิยมธรรม. (2558). การศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ปกครองและครูในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ศูนย์ศักยวิโรฒ. วารสารการวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ. ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม.
สมศรี ตรีทิเพนทร์. (2547). หลักการและแนวทางการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม:กรณีศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา เขตปกครองพิเศษฮ่องกง. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. ปีที่ 5 ฉบับที่ 1-2-3 มกราคม-ธันวาคม 2547.
สุชาดา บุบผา. (2557). ตำรา การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education). คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. ISBN: 978-974-455-638-0.
สุภาพร ชินชัย. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ: กรณีศึกษาโรงเรียนเรียนรวมในจังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรม ศาสตรประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
อรธิดา ประสาร. (2552). ศตวรรษใหม่แห่งการ จัดการศึกษาแบบเรียนรวม. วารสารศูนย์บริการวิชาการ. ปีที่ 17 ฉบับที่ 1-4 มกราคม-ธันวาคม 2552.
Sarason, I. G. and others. (1983). Assessing Social Support : the Social Support Questionnaire. Journal of Behavioral Medicine. 4(2) : 381 – 406.