การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชุด Visiting Phanomsawai Forest Park สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1

Main Article Content

จิราภา - สายยศ
ดร.พิกุล ประดับศรี
ดร.เกื้อ กระแสโสม

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชุด Visiting Phanomsawai Forest Park ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80   2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน 3) เพื่อศึกษาพัฒนาการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริม  การอ่าน และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน    บ้านตระแสง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1 จำนวน 26 คน ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2560 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองจำนวน 19 ชั่วโมง 30 นาที รูปแบบ    การทดลอง คือ แบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด Visiting Phanomsawai Forest Park 2) แผนการจัดการเรียนรู้       3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test 


              ผลการวิจัย พบว่า 1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชุด Visiting Phanomsawai Forest Park ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.39/85.08  2) นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีพัฒนาการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับค่อนข้างมาก 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านอยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กุศยา แสงเดช. (2548). ภาษาอังกฤษภาคปฏิบัติสำหรับครูประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แม็ค.
เจือจันทร์ จงสถิตอยู่. (2557). “การจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในพื้นที่ด้วยพลังเครือข่าย”. วารสารการศึกษาไทย 11 (116) : 7.
ณิชาพร ปรีชาวิภาษ. (2557). “การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 6 (1) : 189.
ดวงเดือน แสงชัย (2533). การสอนภาษาอังกฤษระดับประถมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.
ทัศนีย์ ชาวปากน้ำ. (2557). “การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการสอนเพื่อการสื่อสารโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 6 (1) : 120-121.
โนรี เกษมจิตร. (2560). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษชุดวิถีเด็กไทยด้วยวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนอ่าน KWL-Plus. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปุญชรัสมิ์ วิโรจน์รัตน์. (2558). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดนิพานพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
พัชราพรรณ จันทร์รักษ์. (2559). “การสร้างหนังสืออ่านอังกฤษประกอบการเรียนรู้ เรื่อง ท้องถิ่นบางสะพาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 9 (2) : 1922.
วิไลรัตน์ คีรินทร์. (2556). “บทเรียนท้องถิ่นภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนสำหรับนักเรียน ในเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 10 (2) : 66.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 1. (2558). รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา(LAS). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2558 จาก https://122.154.130.8/surin_1/index.php?mod=list_book_in.
สำนักงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัทจามจุรีโปรดักส์ จำกัด.
อดิศา ชื่นบาน. (2558). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดวนอุทยานป่าสนหนองคู สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
อภิเชษฐ์ เทศเล็ก. (2560). “การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดท่องเที่ยวเมืองสามพราน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 6 (1) : 91.
Cooper, J. David. (1982). Teaching Reading Comprehension : A practical Approach. [Online]. Retrived October 23, 2018, from https://www.eric.ed.gov.
Steffensen, M., Joag-Dev, C., and Anderson, R.C. (1979). “A cross-cultural perspective on reading comprehension”. Reading Research Quarterly. 15 (1) : 10-29