การพัฒนาครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ เกี่ยวกับการหนุนเสริมด้วยการ “Coaching” และชุมชนการเรียนรู้

Main Article Content

Nirada Wechayaluck

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจและความร่วมมือกับผู้บริหาร/ผู้ดูแลนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู  2) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์เกี่ยวกับการหนุนเสริมด้วยการ Coaching และ PLC และ 3) ศึกษาแนวทางในการสนับสนุน/ส่งเสริม ให้เกิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู (Professional Learning Community) ของอาจารย์นิเทศก์ ครูพี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้บริหารโรงเรียนและบุคลากรในโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 12 คน ครูพี่เลี้ยง จำนวนทั้งสิ้น 50 คน และนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 50 คน ผลการวิจัยพบว่า 1)  ผู้บริหารแต่ละโรงเรียนมีประสบการณ์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการหนุนเสริมด้วยการ Coaching ตระหนักและพร้อมจะร่วมมือและพัฒนาครูพี่เลี้ยง 2) การพัฒนาครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศเกี่ยวกับการ Coaching และ PLC โดยมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย โดยใช้กระบวนการจิตตปัญญาศึกษา 3) การพัฒนาสู่ชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพ โดยผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นผู้นำในการสร้างวิสัยทัศน์การเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ การสร้างชุมชนกัลยาณมิตรและโครงสร้างสนับสนุนชุมชนที่จะส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

เฉลิมชัย พันธ์เลิศ. (2549). กระบวนการเสริมสร้างสมรรถภาพการชี้แนะของนักวิชาการพี่เลี้ยง
โดยใช้การเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ในการอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.
(สาขาวิชาวิธีวิทยาการศึกษาวิจัย) ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรุงเทพมหานคร.
ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ความพึงพอใจและผลสะท้อนจากการเรียนรู้กิจกรรมในวิชาจิตตปัญญาศึกษา คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. 14(16),11-20.
ธารทิพทย์ นรังศิยา. (2558). แนวทางการชี้แนะและการเป็นครูพี่เลี้ยงครูบทเรียนจากการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์บัณฑิต. (สาขาวิชาวิธีวิทยาการศึกษาวิจัย) ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร.
พัชรี ชีวะคำนวณ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชา
การศึกษาปฐมวัย รายวิชากิจกรรมพลศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. เอกสารการประชุมวิชาการการนำเสนอ
ผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎภาคเหนือ ครั้งที่ 17 (น. 689- 694).
เมธินี วงศ์วานิช รัมภกาภรณ์. (2558). การจัดการเรียนการสอนตามแนวจิตตปัญญาศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
อีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(2), 328-342.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียน
ในประเทศไทย วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.
วิไล พิพัฒน์มงคลพร และคณะ. (2554). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา
(Contemplative Education). สืบค้น 5 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.primary. satit.kku.ac.th/main/...file.../
20131210145926_02satitJurnal_wilai.pdf.