คุณลักษณะของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3

Main Article Content

ธนิตา เลาหภิชาติชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จำนวน 44 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 4 คน รวมทั้งสิ้น176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารตามแนวคิดของบาร์นาร์ด และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูตามแนวคิดของล็อค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. คุณลักษณะของผู้บริหาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ ความฉลาดมีไหวพริบ ความรับผิดชอบ ความมีชีวิตชีวาและอดทน ความสามารถในการจูงใจ และความสามารถในการตัดสินใจ

  2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยดังนี้ หน่วยงานและการจัดการ เพื่อนร่วมงาน การได้รับการยอมรับนับถือ การนิเทศงาน ลักษณะงาน การเลื่อนตำแหน่ง ผลประโยชน์เกื้อกูล เงินเดือน และสภาพการทำงาน

  3. คุณลักษณะของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบคล้อยตามกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ถาวร โสมณวัฒน์. (2558). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาที่พึงประสงค์ของบุคลากรครู วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
บุญมี เวียงนนท์. (2556). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ลัดดาวัลย์ ใจไว. (2558). ความพึงพอใจของครูต่อการบริหารจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียน ในกลุ่มโรงเรียนศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วราภรณ์ ช้างอยู่. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหาร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (พ.ศ.2552-2561. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร.
Barnard, Chester I. (1996). Organization and Management. Cambridge: Harvard University Press.
Best, John W. (1977X. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc.
Krejcie Robert V. and Morgan Daryle W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities, “Journal for Education and Psychological Measurement”
Likert, Rensis. (1956). The Human Organization. New York: McGraw-Hill Book Company.
Locke, Edwin A. (1976) “The Nature and Causes of Job Satisfaction” in Handbook of industrial and Organization Psychology. Chicago.