การยอมรับของครอบครัวและการรับรู้ผลต่อสุขภาพของชายรักชาย ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • รณภูมิ สามัคคีคารมย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปทุมธานี 12121

บทคัดย่อ

ชายรักชายเป็นกลุ่มที่เผชิญหน้ากับความไม่เท่าเทียมกันในสังคมและความเปราะบางอันเปราะบางจากมุมมองในอดีต ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับในสังคมและในสถานบันครอบครัว การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการยอมรับของครอบครัวที่มีลูกเป็นชายรักชายและการรับรู้ผลกระทบทางสุขภาพจากการยอมรับของครอบครัวของพวกเขา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีการรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูล คือ ชายรักชาย จำนวน 10 คน และสมาชิกครอบครัวของชายรักชายดังกล่าว จำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการยอมรับของครอบครัวเริ่มจาก ครอบครัวมีการรับรู้ถึงความเป็นชายรักชาย ด้วยการสังเกตจากพฤติกรรม การรวมกลุ่มกับเพื่อน และการเปิดเผยตนเองโดยการใช้เวลาระยะเวลา การพูดคุยปรับความเข้าใจ การปรับการแสดงออกในพฤติกรรมของชายรักชาย และความพยายามแสดงออกของชายรักชายถึงจุดยืนในอัตลักษณ์ของตน ทำให้ครอบครัวก็เกิดการรับรู้ที่มากขึ้น และมีความเข้าใจในอัตลักษณ์ จึงทำให้ครอบครัวยอมรับ ส่วนผลกระทบต่อสุขภาพของชายรักชาย 4 ด้าน คือ สุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิต สุขภาพทางสังคม และสุขภาพทางปัญญา พบว่าการได้รับการยอมรับจากครอบครัวส่งผลทางบวกต่อสุขภาพของชายรักชายทุกด้าน ยกเว้นสุขภาพทางกายที่ส่งผลทางลบได้ด้วย การไม่ยอมรับของครอบครัวส่งผลทางลบต่อสุขภาพ ทุกด้าน ยกเว้นสุขภาพทางปัญญาที่สามารถส่งผลทางบวกร่วมด้วย การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะ คือ ควรให้มีการเผยแพร่ความรู้ เรื่อง เพศ เพศสภาพ เพศวิถี ความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการยอมรับการเป็นชายรักชายในสมาชิกของครอบครัว เนื่องจากการยอมรับของครอบครัวมีผลต่อสุขภาพทั้ง 4 ด้านของชายรักชาย ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ชายรักชายสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีสุขภาพที่ดีในทุกด้านต่อไป

คำสำคัญ: ชายรักชาย, การยอมรับของครอบครัว, ผลกระทบต่อสุขภาพ

References

บรรณานุกรม

Jenkins C, Hunter A, and P.n.A. P, Katoey in Thailand: HIV/AIDS and Life Opportunities. 2005, Washington DC: USAID.

King, M., et al., Mental health and quality of life of gay men and lesbians in England and Wales: controlled, cross-sectional study. Br J Psychiatry, 2003. 183: p. 552-8.

King, M., et al., A systematic review of mental disorder, suicide, and deliberate self harm in lesbian, gay and bisexual people. BMC psychiatry, 2008. 8: p. 70-70.

Mahidol University, P.I.T., and UNESCO Bangkok Office, A Brief on school bullying on the basis of sexual orientation and gender identity: LGBT-friendly Thailand? (tha). 2014, UNESCO Office Bangkok/Plan International/Mahidol University.

Rohner, R.P., Introduction to interpersonal acceptance-rejection theory (IPARTheory) and evidence. Online Readings in Psychology and Culture, 2016. 6(1): p. 4.

Ryan, C., et al., Family rejection as a predictor of negative health outcomes in white and Latino lesbian, gay, and bisexual young adults. Pediatrics, 2009. 123(1): p. 346-52.

Ryan, C., et al., Family Acceptance in Adolescence and the Health of LGBT Young Adults. Journal of Child and Adolescent Psychiatric Nursing, 2010. 23(4): p. 205-213.

มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน, รายงานวิจัยเรื่องความต้องการ ปัญหาและอุปสรรคของคนข้ามเพศที่เกี่ยวเนื่องกับการรับรองสถานภาพและคำนำหน้านาม. 2558.

มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน, รายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องระบบสุขภาพอย่างรอบด้านในประเทศไทย. 2560.

มูลนิธิเอ็มพลัสพิษณุโลก, ข้อมูลประชากรที่เข้ารับบริการในมูลนิธิเอ็มพลัสพิษณุโลก. 2562.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก, ข้อมูลประชากรในเขตพื้นที่ตำบลในเมือง. 2561.

สุพร เกิดสว่าง. ชายรักชาย. 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-13