การละเมิดเครื่องหมายการค้า การศึกษาปัจจัยเชิงคุณธรรมจริยธรรมของ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกีฬาในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Prasertchai Suksa-ard -

บทคัดย่อ

การละเมิดเครื่องหมายการค้า  การศึกษาปัจจัยเชิงคุณธรรมจริยธรรมของ

ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกีฬาในประเทศไทย

 

ประเสริฐไชย  สุขสอาด1

                                                                                                  

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเชิงคุณธรรมจริยธรรมของละเมิดเครื่องหมายการค้ากีฬาของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกีฬา โดยใช้ข้อมูลมาจากโครงการวิจัย MUSSIRB No: 2021/109(B1) ทั้งหมด 407 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลใช้จำนวน ร้อยละ และสถิติ ค่าไคสแควร์ (χ2- test)  ผลการวิจัย พบว่า เพศ การศึกษา และรายได้มีความสัมพันธ์กับความตระหนักในคุณธรรมจริยธรรมกับการละเมิดเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกีฬา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้เป็นแนวทางการพัฒนาการใช้คุณธรรมจริยธรรมเพื่อลดปัญหาการละเมิดเครื่องหมายการค้ากีฬาของผู้ประกอบการ เช่น ให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกีฬา ได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมการใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดเป็นประจำเพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ การปฏิบัติ และความตระหนักถึงผลเสียที่เกิดขึ้นจากการกระทำละเมิดเครื่องหมายการค้า   เปิดช่องทางการแจ้งเบาะแสที่เป็นความลับเฉพาะและหลากหลายช่องทาง ในการแจ้งแหล่งจำหน่ายสินค้าที่มีการละเมิดเครื่องหมายการค้าให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมาย  รวมทั้งมีประกาศ ชมเชย ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าที่ไม่ละเมิดเครื่องหมายการค้า และจำเป็นต้องมีการสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว โรงเรียน สถานประกอบการ ผู้ขาย และผู้ซื้อสินค้าให้ตระหนักในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมกับการละเมิดเครื่องหมายการค้าในอุตสาหกรรมกีฬา

 

 

คำสำคัญ : การละเมิดเครื่องหมายการค้า, ปัจจัยเชิงคุณธรรมจริยธรรม, ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกีฬา

 

     

 

 

1ภาควิชาศึกษาศาสตร์ คณะสังศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

Email: [email protected]

References

บรรณานุกรม

ณรงค์ศักดิ์ มณีแสง. (2551). จริยธรรมธุรกิจอุตสาหกรรม. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Vol.42

ณัฐนันท์ วิริยะวิทย์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักต่อจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อมวลชนของนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารสมาคมนักวิจัย. ปีที่ 20 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม), 138 – 147.

ปัณพร ศรีปลั่ง และพงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ (2558). การศึกษาเพื่อพัฒนาจริยธรรมของนักศึกษาด้วยกระบวนการอภิปัญญา. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. ปีที่ 5 ฉบับที่ 2, (พฤษภาคม-สิงหาคม)

ปิยะนันท์ นามกุล. ( 2561). ปัจจยัที่มีผลต่อคุณลกัษณะที่พึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม ของนักศึกษา พยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2, 27-48.

เยาวลักษณ์ เคลือบมาศ (2008). ความสำคัญของการเป็นผู้ประกอบการในปัจจุบัน. FEU Academic Review. Vol.1 No.2 (ธันวาคม 2550-พฤษภาคม 2551).

https://tci-thaijo.org/index.php/FEU/article/view/27059.

วารินทร์ บินโฮเซ็น และนภัสกรณ์ วิทูรเมธา. (2021). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับพัฒนาการทางจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลที่มีประสบการณ์ทางคลินิก. AHEI. Journal of Nursing and Health, Vol.3 No.3 (Sep-Dec 2021)

หรรษมน เพ็งหมาน. (2559). จริยธรรมทางธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจค้าปลีก. Veridian E-Journal, Silapakorn University, Vol 9, No.1(มกราคม – เมษายน): 815-828.

Beferani, M. H. (2015). The role of the family in the socialization of children. Mediterranean Journal of Social Sciences, Vol 6 (6 S6), 417-423.

To-aj, O. Suksa-ard, P. (2020). Perceived Benefits of Trademark Infringement Law to Thai Sports Industry. Ann Appi Sport Sci. 2020; 8(4). e884.. (http://www.aassjournal.com; e-ISSN: 2322-4479; p-ISSN:2476-4981)

Suksa-ard, P. (2021). The Moral and the Ethical Awareness and the Trademark Infringement of the Entrepreneurs in Sports Industry.. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education, Vol.12 No.14(2021). 4370-4379.

WIPO. (2014) .Sport and Intellectual property. Retrieved September 28,2020 from http:// www.wipo. int/ip-sport/en/

Zikmund, W.G.. (1994). Business research methods. TX : Dryden Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30