เหยื่ออาชญากรรม
คำสำคัญ:
รูปแบบอาชญากรรม, เหยื่ออาชญากรรม, ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา และบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล โดยโครงการวิจัยนี้ได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน สาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลแล้ว เลขที่ 2022/194 (B2) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบอาชญากรรม และปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากหนังสือ ตำรา เอกสาร ผลงานวิจัย และบทความทางวิชาการที่เกี่ยวกับรูปแบบอาชญากรรม และปัจจัยที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นช่องว่างและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาแนวทางมาตรการ หรือนโยบายที่จะช่วยควบคุม หรือลดโอกาสการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมให้ลดน้อยลง และยังเป็นการเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสังคม รวมถึงอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสถานศึกษา ประกอบด้วย อาชญากรรมเกี่ยวกับทรัพย์ อาชญากรรมเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย อาชญากรรมเกี่ยวกับเพศ รวมถึงอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม ประกอบด้วย ปัจจัยด้านพฤติกรรมของตัวเหยื่อ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และปัจจัยด้านแรงจูงใจของอาชญากรหรือการถูกบีบบังคับจากสภาพแวดล้อม
References
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2549). คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพฯ : จิรรัชการพิมพ์.
ชำนิ คนไว. (2560). ปัญหาอาชญากรรมในสังคม. วารสารวิชาการแสงอีสาน, 14(2), 28 – 41.
ญาณิศา วงศ์ทองบาง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่คุกคามชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตดุสิต กรุงเทพฯ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการสังคม, 3(2), 45 – 55.
นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2548). อาชญากรรม (การป้องกัน : การควบคุม). นนทบุรี : พรทิพย์การพิมพ์.
พรชัย ขันตี, จอมเดช ตรีเมฆ และกฤษณพงศ์ พูตระกูล. (2558). ทฤษฎีอาชญาวิทยา : หลักการ งานวิจัยและนโยบายประยุกต์. กรุงเทพฯ : ส.เจริญการพิมพ์.
พิสิฐ ระฆังวงษ์. (2561). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, คณะรัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภัทรวรรณ ทองใหญ่ และธีรนิติ์ เทพสุเมธานนท์. (2565). มาตรการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย : การจัดทำ คำแถลงเกี่ยวกับผลกระทบของอาชญากรรม. วารสารกฎหมาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 40 (1), 1 -25.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2519). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล และชยพล ฉัตรชัยเดช. (2558). การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุก โดยทฤษฎีสามเหลี่ยมอาชญากรรม (Proactive Crime Prevention by Crime Triangle Theory). กรุงเทพฯ : กองบัญชาการตำรวจนครบาล.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ภาวะสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2566 จาก, https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11599
สุณีย์ กัลป์ยะจิตร. (2560). ความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของนักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม. วารสารกระบวนการยุติธรรม, 10(1), 19 – 33.
โสฬส พินิจศักดิ์. (2526). การยอมรับบทบาทของบุคลากรด้านอาชญาวิทยาในการบัญชาการตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.
อรัญ สุวรรณบุบผา. (2518). หลักอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
อัณณพ ชูบํารุง. (2532). อาชญาวิทยาและอาชญากรรม. กรุงเทพฯ : ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อัณณพ ชูบำรุง และอุนิษา เลิศโตมรสกุล. (2555). อาชญากรรมและอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อู่ธนา สุระดะนัย. (2561). การตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมในสถานศึกษา: กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์นี้หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม,ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา, คณะรัฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ต่างประเทศ
Cohen, L.E. & Felson, M. (1979). Social change and crime rate trends: A routine activities approach. American Sociological Review, 44, 588-609.
Hindelang, M. J., Gottfredson, M. R., and Garofalo, J. (1978). Victims of personal crime: An empirical foundation for a theory of personal victimization. Cambridge, Mass. : Ballinger Pub. Co.
Rogers, R. W. (1975). A Protection Motivation Theory of fear appeals and attitude change. The journal of Psychology, 91 (1), 93-114.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Trynh Phoraksa
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล