การพัฒนาศักยภาพเยาวชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานเพื่อรองรับการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1
คำสำคัญ:
การพัฒนาศักยภาพเยาวชน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การท่องเที่ยวชุมชน, กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ และสังเคราะห์ องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน 2) พัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้มีความสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่น 3) จัดตั้งศูนย์การพัฒนาศักยภาพของเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน และ 4) ศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเครือข่ายระหว่างศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชน โดยทำการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากประชนชนและเยาวชนจำนวน 1,507 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 90 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) การวิเคราะห์องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวคิด Diamond Model สรุปได้ว่า ด้านการตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยี่ยมชมชุมชน ด้านความพร้อมเกี่ยวกับปัจจัยการผลิต ด้านความต่อเนื่องและสนับสนุนการเป็นธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ด้านกลยุทธ์ โครงสร้าง และสถานการณ์การแข่งขัน และด้านนโยบายรัฐบาล มีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก 2) การสังเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ความรู้และได้ทำการอบรมให้เยาวชนจำนวน 165 คน ผ่าน 5 หลักสูตร 3) การจัดตั้งศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนโดยเน้นการดำเนินกิจกรรม 4 แนวทางได้แก่ การให้ความรู้ผ่านผ่านเครือข่ายออนไลน์ การนำวิทยากรหรือปราชญ์ในพื้นที่เข้ามาให้ความรู้แก่เยาวชน การแทรกกิจกรรมการพัฒนาในกิจกรรมการเรียน และการจัดกิจกรรมผ่านชมรมมัคคุเทศน์ของโรงเรียน 4) เครือข่ายระหว่างศูนย์การพัฒนาเยาวชนเพื่อการท่องเที่ยวชุมชนมีหน่วยงานเข้าร่วมในเบื้องต้นจำนวน 9 หน่วยงาน โดยมีการดำเนินกิจกรรมใน 4 แนวทางคือ การเรียนรู้ผ่านระบบออนไลน์ การเรียนรู้ข้ามพื้นที่ การแลกเปลี่ยนวิทยากร และการส่งต่อนักท่องเที่ยว
References
จารุวรรณ ธรรมวัตร. (2558). วิเคราะห์ภูมิปัญญาอีสาน. กาฬสินธุ์ : สำนักพิมพ์ จินตาภัณฑ์การพิมพ์.
จิราภรณ์ แก้วมณี. (2557). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านหัวเขาจีน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชุติพนธ์ เสือสุวรรณ์. (2542). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของบริษัท การบินไทย (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารองค์การ, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ณัฏฐนันท์ ตาบโกไสย์. (2551). การพัฒนายุวมัคคุเทศก์ในการนำชมแหล่งท่องเที่ยวหมู่ที่ 1 ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์ และนราศรี ไววนิชกุล. (2559). เรื่องความสามารถในการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของประเทศไทย. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 29(1): 196-215.
ดวงฤทัย อรรคแสง. (2552). กระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าไหมมัดหมี่ย้อมสีธรรมชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธาวิษ ถนอมจิตศ์ และเทิดชาย ช่วยบำรุง. (2015). รูปแบบการส่งเสริมความรู้แก่เยาวชนในเขตจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมแลลพหุภาคีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวมรดกโลกเมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร. วารสารศรีปทุมปริทัศน์, 15(2): 35-45.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2551). บทความด้าน HR. นนทบุรี: รัตนไตร.
บรรเจิด สอพิมาย. (2550). การศึกษาเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วลัยลักษณ์ จันทร์สวัสดิ์. (2551). รูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนขององค์กรท้องถิ่น ตำบลจริม อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย นาคอุดม พรรณนภา เขียวน้อย และศิวพร ถาวรวงศา. (2561). ยุทธศาสตร์การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษา: การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 14(2): 48-61.
สนธยา พลศรี. (2550). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
สิริกร ประทุม. (2564). การพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 3(2): 71-87.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). เครือข่าย. กรุงเทพฯ: เจริญวิทย์การพิมพ์.
อนงค์ศิริ วิชาลัย. (2554). แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น. เชียงใหม่: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ภาษาอังกฤษ
Cohen, J., M. and Uphoff, N. T., (1977). Rural development participation: Concept and measures for project design, implementation and evaluation. Cornell University: NY.
Eric, H. P. (1995). Unconventional Wisdom about Local Competition, Dissertation Abstracts International. pp. 24–28.
Gilley, J. W. and Eggland, S. A., (1990). Principles of Human Resource Development. NY: Addison Wesley.
Knowles, M. S. (1974). Human resources development in OD. Public administration review, 34(2), 115-123.
Porter, M. E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. NY: Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 Darngnapasorn Na Pombejra
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล