การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • Thanma Laipat Srinakharinwirot university

คำสำคัญ:

Development of Care System, Stroke Patients

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory active research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน ผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 80 ราย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 116 ราย วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอนคือ 1) วิเคราะห์ปัญหาการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 2) พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย 3) ประเมินผลการปฏิบัติตามระบบการดูแลผู้ป่วย ซึ่งพัฒนาตั้งแต่ระยะ Pre–Hospital , In–Hospital และ Post–Hospital  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนผังการดูแลผู้ป่วย, เอกสารเประชาสัมพันธ์เรื่อง Stroke Team Fast Track, Standing Order ของแพทย์ที่จะพิจารณาให้ผู้ป่วยได้รับยา Rt-PA, แบบรวบรวมข้อมูลคุณภาพการให้บริการผู้ป่วย, Care Map ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, QR Code ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง, Line กลุ่ม และแบบประเมินผล

ผลการวิจัยพบว่า มีการปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันได้ครบทุกข้อคิดเป็นร้อยละ 100 ยกเว้นบางแผนก จึงได้มีการประชุมและปรับระบบการดูแลครั้งที่ 2 พบว่า มีการปฏิบัติตามแนวทางการพัฒนาระบบร้อยละ 100 ส่วนความพึงพอใจโดยรวมของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อการปฏิบัติตามระบบการดูแลผู้ป่วย มีระดับมากที่สุด เฉลี่ย 4.13 คะแนน (S.D.= 0.60) ความพึงพอใจของผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยต่อการได้รับการดูแลตามระบบการดูแล มีระดับมากที่สุด เฉลี่ย 4.54 คะแนน (S.D=0.53) เมื่อเปรียบเทียบก่อนการพัฒนาระบบ มีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน 17  ราย ได้รับยา Rt-PAภายใน 60 นาที  6 ราย ร้อยละ 35.3 เวลาเฉลี่ย  74.3 นาที หลังพัฒนาระบบมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 10 ราย ได้รับยา Rt-PAภายใน 60 นาที จำนวน 8 ราย ร้อยละ 80 เวลาเฉลี่ย  48 นาที ก่อนการพัฒนาระบบเกิดภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ปอดติดเชื้อ ร้อยละ 10.54 ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 6.12 และแผลกดทับ ร้อยละ 1.36 หลังพัฒนาระบบพบว่า ปอดติดเชื้อ มีร้อยละ 1.98 ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 7.92 และแผลกดทับ ร้อยละ 0.99  แสดงว่า ระบบการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นนั้น มีความเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ในการให้บริการแก่ผู้ป่วยได้ ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการติดตามการปฏิบัติตามระบบการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติ

References

จินตนา คําภักดี, บดีภัทร วรฐิติอนันต์,ปราณี เกสรสันต์, ไพรวัลย์ พรมที และ ลินดา สันตวาจา. (2560). ประสิทธิภาพของ Fast Tracks Hub System ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน.สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร, 14(2), 85-95.

ดิษนัย ทัศนพูนชัย. (2562). Strokeหรือโรคหลอดเลือดสมอง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก

http://www.sikarin.com/content/detail/131/stroke หรือโรคหลอดเลือดสมอง.

นิตยา พันธุเวทย์, และลินดา จำปาแก้ว. (2558). ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี พ.ศ. 2557. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ประหยัด พึ่งทิม. (2557). การพัฒนารูปแบบบริการเร่งด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลสระบุรี.วารสารกองการพยาบาล, 41(2), 6-25.

ลินดา สันตวาจา และศรัญญา บุญโญ. (2558).การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จังหวัดนนทบุรี.วารสารกองการพยาบาล, 42(1), 91-112.

วรรณวรา ไหลวารินทร์ และกัญญา เลี่ยนเครือ. (2559).การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา.วารสารกองการพยาบาล, 43(3), 92-113.

สายนาท พลไชโย. (2559). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายใต้บริบทของ

โรงพยาบาลตติยภูมิ.วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(1), 26-35.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). โรคหลอดเลือดสมองเสียชีวิต 1 คน/6วินาที.

[ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/39010.

อมรรัตน์ กุลทิพรรธน์, วัชราภรณ์ โต๊ะทอง และจีระกานต์ สุขเมือง. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร เครือข่ายโรงพยาบาลเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 31(4), 619-629.

Ahmadi, Z. and Sadeghi, T. (2017). Application of the Betty Neuman systems model in the nursing care of patients/clients with multiple sclerosis. Mult Scler J Exp Transl Clin. Jul-Sep; 3(3).

World Health Organization Meeting on Community Control of Stroke and Hypertension. (1973). Control of stroke in the community: methodological considerations and protocol of WHO register. CVD/s/73.6 Geneva: WHO 1973.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31