วิวัฒนาการแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • Trynh Phoraksa ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อุนิษา เลิศโตมรสกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการแนวทางการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) จากหนังสือ ตำรา เอกสาร ผลงานวิจัย บทความทางวิชาการ กฎหมาย ประกาศ และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทยที่ผ่านมา จนถึงการบำบัดฟื้นฟูตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นช่องว่างและใช้เป็นหลักฐานทางวิชาการเพื่อสนับสนุนการพัฒนาแนวทางการปรับปรุงการบำบัดฟื้นฟูในคดียาเสพติดในอนาคต ผลการวิจัยพบว่า ประเทศไทยได้นำแนวคิดที่มองว่าผู้เสพยาเสพติดเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการติดยาเสพติด โดยเริ่มตราในพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534 และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี พ.ศ. 2545 แต่เนื่องจาก สถิติผู้ต้องขังในคดียาเสพติดยังมีจำนวนสูงมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กฎหมายเดิมไม่เอื้อต่อระบบสาธารณสุขหรือระบบบำบัดที่เป็นแบบสมัครใจ ระบบบำบัดฟื้นฟูและกลับคืนสู่สังคมยังประสบปัญหา และกระบวนการบำบัดที่ขาดความต่อเนื่องทำให้การบำบัดฟื้นฟูขาดประสิทธิภาพ ดังนั้น ภาครัฐจึงได้ตราพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ขึ้น โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาผู้เสพหรือผู้ติดในมิติทางสาธารณสุขและสุขภาพมากขึ้น มีการปรับระบบการบำบัดทั้งระบบสมัครใจ ระบบบังคับ และระบบต้องโทษมาเป็นระบบสมัครใจและระบบบำบัดตามคำสั่งศาลเท่านั้น ซึ่งมีศูนย์คัดกรองและศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคมที่ติดตามดูแลให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เข้ารับการบำบัด โดยมุ่งหวังให้ผู้เข้ารับการบำบัดไม่กลับไปใช้ยาเสพติดอีก อันนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-22