การพัฒนาระบบงานสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติของประเทศไทย
คำสำคัญ:
งานสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ คนไทยในต่างประเทศ นักสังคมสงเคราะห์ องค์กรสาธารณประโยชน์บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของคนไทยในต่างประเทศ วิเคราะห์ระบบงานและเสนอแนวทางการพัฒนาระบบงานสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ ใช้วิธีวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษาพบว่า 1) คนไทยในต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีจำนวนมากที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งไม่สามารถเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 2) การปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ เป็นการทำงานที่อาศัยความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ องค์กรสาธารณประโยชน์ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งนักสังคมสงเคราะห์เพื่อคุ้มครองสิทธิของคนไทยในต่างประเทศ เริ่มขึ้นเป็นคระเงแรกในปี พ.ศ. 2555 เมื่อคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติได้การกำหนดให้คนไทยในต่างประเทศเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สมควรได้รับบริการสวัสดิการสังคม และจัดศูนย์ส่งเสริมและประสานการพัฒนาสังคมไทยในต่างประเทศ 3)ควรพัฒนาองค์ความรู้และทักษะนักสังคมสงเคราะห์ มาตรการและกลไก รวมทั้งบริการสวัสดิการสังคมที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ข้ามชาติ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 ภุชงค์ เสนานุช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล