วิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เปรียบเทียบกับของมหาวิทยาลัยมหิดล
บทคัดย่อ
เจตนารมณ์หรือเป้าหมายสำคัญของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐหรือที่เรียกว่า “มหาวิทยาลัยนอกระบบ” คือ การลดภาระงบประมาณแผ่นดินที่รัฐบาลให้การสนับสนุนในรูปงบประมาณแบบวงเงินรวมหรืองบประมาณในรูปเงินก้อน (Block Grant) โดยให้สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐสามารถพึ่งพาตนเองได้จากเงินนอกงบประมาณหรือแสวงหารายได้อื่นให้มากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์การวิเคราะห์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบงบประมาณสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 - 2565 และทำการศึกษาวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหิดล จากการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจะพบว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ รวม 26 หน่วยงาน ได้รับจัดสรรงบประมาณ จำนวน 71,001.2118 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.57 ของงบประมาณทั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กระทรวง อว.) โดยกระทรวง อว. ได้รับงบประมาณลดลง จากปี 2564 จำนวน 1,226.0296 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.70 (ข้อมูลรายงานการวิเคราะห์งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงบประมาณของรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร) มหาวิทยาลัย ที่ได้รับงบประมาณสูงสุด คือ มหาวิทยาลัยมหิดล (13,171.4394 ล้านบาท) เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ มีบุคลากรจำนวนมาก แบ่งเป็นสายวิชาการ จำนวน 4,012 คน และสายสนับสนุนจำนวน 34.107 คน รวมทั้งสิ้น 38,119 คน และมีส่วนงานภายในมากมายรวมถึงมีโรงพยาบาลในสังกัด เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลทันตกรรม และ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยมหิดลถึงแม้จะได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) มากที่สุดในประเทศไทย แต่ทว่ามหาวิทยาลัยต้องหารายได้จาก การบริการวิชาการ และการวิจัยให้ได้มากกว่า 3 เท่าของเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถเลี้ยงตนเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป
คำสำคัญ : สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ, งบประมาณรายจ่ายประจำปี, มหาวิทยาลัยมหิดล
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สุนิดา เกียรติวัฒนวิศาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารสหศาสตร์เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
ท่านที่ประสงค์จะส่งบทความ ผลงานวิจัย ข้อคิดเห็นทางวิชาการลงตีพิมพ์วารสารสหศาสตร์ กรุณาส่งมาที่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล