แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถด้านการมีส่วนร่วม

ผู้แต่ง

  • อาจารย์ ดร.พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข ภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ลิขสิทธิ์ พุฒเขียว สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://orcid.org/0000-0002-8316-2579

คำสำคัญ:

การขับเคลื่อนชุมชน, ผู้สูงอายุใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถ, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) พัฒนากิจกรรมขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถด้านการมีส่วนร่วม 2) พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถด้านการมีส่วนร่วม โดยดำเนินการวิจัยในรูปแบบการวิจัยและพัฒนา ในลักษณะการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถด้านการมีส่วนร่วม มี 5 ขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ 1) กำหนดคณะทำงาน สร้างความเข้าใจร่วมกัน 2) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ 3) ตัดสินใจและวางแผนการจัดกิจกรรม 4) ดำเนินการตามแผนที่กำหนด 5) ติดตาม ประเมินผล และขยายผล โดยผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในการระดมความคิดและตัดสินใจ ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมติดตามประเมินผล 2) แนวทางการขับเคลื่อนชุมชนเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้ใช้ชีวิตอย่างมีความสามารถด้านการมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้สูงอายุและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผ่านกระบวนการกลุ่มและกิจกรรมกลุ่ม เป็นเครื่องมือในการสนับสนุนและผลักดันให้ผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน สมาชิกกลุ่ม หรือองค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมกันดำเนินการเพื่อสร้างโอกาสที่เหมาะสมสำหรับการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตตามวัยที่สูงขึ้น ให้สามารถดูแล/พึ่งตนเองและผู้อื่นได้ กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ การช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน การชวน พบปะ สังสรรค์ เรียนรู้ ดูงาน พูดคุย และการเชื่อมสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อนบ้าน กลุ่มและเครือข่าย ผลการขับเคลื่อนชุมชนในด้านการมีส่วนร่วม ควรคำนึงถึงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ 1) มีโอกาสพบปะพูดคุย เข้าถึงข้อมูล 2) มีเพื่อน มีคนผูกพันใกล้ชิด 3) มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น และเห็นคุณค่าของตนเองที่มีต่อกลุ่ม ชุมชน

References

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์. (2553). รูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการจัดสวัสดิการสังคมโดยองค์กรกกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับูู้สูงอายุ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฐิตาพร จินตะเกษกรณ์ จิราวรรณ มาท้วม และณัฐพงษ์ ณ พัทลุง. (2551). สถานการณ์ูู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิดและแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน.
วนิดา ทองปล้อง. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมของูู้สูงอายุ: กรณีศึกษาผู้สูงอายุในอาเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันดี โภคะกุล. (2549). “นโยบายและมาตรการทางกฎหมายคุ้มครองผู้สูงอายุในต่างประเทศ”. เอกสารการประชุมวิชาการประจำปี 2549. สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ.
วิพรรณ ปะจวบเหมาะ. (2553). “ภาพรวมประชากรสูงอายุในประเทศไทย” ใน การทบทวนและสังเคราะห์องค์ความรููู้้สูงอายุไทย พ.ศ.2545-2550. กรุงเทพฯ: บริษัท คิว พี จำกัด.
United Nations Population Fund. (2012). Ageing in the twenty-first century: A celebration and a challenge. New York: United Nations Population Fund (UNFPA).
World Health Organization. (2002). Active Ageing: A Policy Framework, Noncommunicable Disease Prevention and Health Promotion, Ageing and Life Course, Geneva: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-18