ผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • ธนกฤต หิรัญสาย
  • สุพิชญา วงศ์วาสนา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตของนักศึกษา, ผลกระทบทางลบ, COVID-19

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ของนักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 2) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต ของนักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน  สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จำนวนทั้งหมด 522 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาธุรกิจการบิน สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จำนวน 240 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย คาเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ไดแก 1) ผลกระทบด้านสุขภาพ 2) ผลกระทบด้านสังคม  3) ผลกระทบด้านเศรษฐกิจภายในครอบครัว  2. คุณภาพชีวิตของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ไดแก 1) ด้านจิตใจ 2) ด้านร่างกาย 3) ด้านการศึกษา และ 3. ความสัมพันธ์ของผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของนักศึกษา ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ด้านสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับตัวแปรคุณภาพชีวิตทางด้านร่างกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

References

กรมสุขภาพจิต. (ออนไลน์). ความเสี่ยงและผลกระทบต่อผู้สูงอายุในช่วง Covid-19. เข้าถึงเมื่อ 2 กันยายน 2564 เข้าถึงได้จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30794.
กระทรวงสาธารณสุข. (ออนไลน์). แนวปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ประเทศไทย. เข้าถึงเมื่อ 2 กันยายน 2564 เข้าถึงได้จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0002/00002647.PDF.
กฤษฎา บุญชัย และคณะ . (2563). การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์. (2561). แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 38 (2), 132 -141.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ : วีอินเตอร์พรินท์.
แพรวพรรณ โสมาศรี. (2556). การศึกษาการใช้ชีวิตของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (ออนไลน์). จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. เข้าถึงเมื่อ 1 กันยายน 2564 เข้าถึงได้จาก https://www.eef.or.th/article1-02-01-211/.
มูลนิธิยุวพัฒน์. (ออนไลน์). การศึกษาในยุค Covid-19. เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2564 เข้าถึงได้จาก https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/.
รัชดา โตอนันต์ และธนศักดิ์ ประเสริฐสาร. (2563). โควิด-19 โคโรนาไวรัส สงครามที่มองไม่เห็น. วารสารอาหารและยา 27 (2), 4 -12.
ศรุตานนท์ ชอบประดิษฐ์. (2563). วิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างไร.วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ 3 (2), 1 -14.
สำราญ จูช่วย และคณะ (2555). คุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์ : กรณีศึกษานักศึกษาเข้าใหม่ปีการศึกษา 2555. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุพัตรา รุ่งรัตน์ และคณะ . (2563). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา. (รายงานผลการวิจัย). ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Healthpromotion in nursing practice. 6th ed. Boston: Pearson; 2011
Yamane, Taro. (1976). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper andRow.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-11